วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สถานีอนามัยโคกพนมดี ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

โดย
นางสร้อยสน ปานอนันต์ 

นางสร้อยสน ปานอนันต์ ผอ. รพ. สต.บ้านโคกพนมดี
 นางสร้อยสน ปานอนันต์ถ่ายรูปร่วมกับนายทองสุก เชาวน์เจริญ(บิดา) ผู้บริจาคที่ดินให้เป็นที่ตั้งสถานีอนามัยโคกพนมดีเมื่อพ.ศ.2516 ต่อมา คือ  รพ.สต.บ้านโคกพนมดี

 ห้องตรวจโรคชั้น 2 ของอาคาร

เก้าอี้หินอ่อนสำหรับการประชุมอสม.และการออกหน่วยให้บริการทางการแพทย์ได้รับบริจาคจากชุมชนในพื้นที่ พื้นที่นี้ต่อมาได้ต่อเติมเป็นห้องตรวจโรค ส่วนธุรการและเวชระเบียน และห้องทำแผลโดยใช้งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข

รพ.สต.บ้านโคกพนมดี  ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 7 ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี บนที่ดินพื้นที่ประมาณ 6 งาน ก่อตั้งเมื่อประมาณพ.ศ.2516 โดยได้รับบริจาคที่ดินจากนายทองสุก เชาวน์เจริญ ราษฎรตำบลโคกปีบ อ.โคกปีบ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ศรีมโหสถ) จ.ปราจีนบุรี เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ต่อมาในปีพ.ศ.2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูนใต้ถุนสูง และในในปีงบประมาณ 2552 ก็ได้รับอนุมัติงบประมาณต่อเติมชั้นล่างเพื่อเป็นห้องตรวจโรค ทำแผล ห้องธุรการและเวชระเบียนจากกระทรวงสาธารณสุข

โต๊ะทำงานตัวเก่าได้รับความอนุเคราะห์จากนางกิมลี้ เช้าเจริญ เมื่อพ.ศ.2516 มองออกไปจากหน้าต่างแลเห็นด้านหลังเป็นบันไดบ้านพักเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลังเดิม ซึ่งจำเป็นต้องรื้อออกเพื่อสร้างอาคารใหม่ เป็นความเติบโตเพื่อที่จะรองรับความก้าวหน้าทางกายภาพด้านต่างๆของชุมชน

เครื่องกรองน้ำเคยวางที่ระเบียงอนามัยหลังเดิมเพื่อให้บริการแก่คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการทางสุขภาพ  ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขและถูกใช้งานมาจนกระทั่งสร้างอาคารใหม่

รพ.สต.บ้านโคกพนมดีโคกพนมดี มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำการรวม 4 คน ดังนี้
1.นางสร้อยสน ปานอนันต์  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ รพ.สต. บ้านโคกพนมดี
2.นายรังสรรค์ เชาวน์เจริญ  ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการ
3.นายอุดมรัตน์ ยั่งยืน          ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับชำนาญงาน

จากวันวานถึงวันนี้ แม้วันเวลาจะผ่านไป แต่งานส่งเสริม,ป้องกัน,รักษาพยาบาลของรพ.สต.บ้านโคกพนมดีสำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอมา นอกจากจะได้รับความอนุเคราะห์จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรเอกชน และชุมชนในพื้นที่แล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 57 คน ที่มาทุ่มเทและร่วมแรงร่วมใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ณ โอกาสนี้ ในนามของรพ.สต.บ้านโคกพนมดี ดิฉันจึงขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจการและกิจกรรมต่างๆของสถานีอนามัยโคกพนมดีมาโดยตลอด  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการอนุเคราะห์จากท่านในโอกาสต่อไป เพื่อความอยู่ดี มีสุขของพี่น้องชาวโคกพนมดีและพี่น้องในชุมชนพื้นที่ในเขตที่รับผิดชอบทุกคน

โปรดงดสูบบุหรี่ทุกพื้นที่ในเขตโรงพยาบาล อนามัย ร้านอาหาร สถานศึกษา ฯลฯ

-โปรดงดสูบบุหรี่ทุกพื้นที่ในเขตโรงพยาบาล อนามัย ร้านอาหาร สถานศึกษา ฯลฯฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท

โครงการเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก

 

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เริ่มต้นจากการดำเนิน โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่มีอุทกภัยครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2538 และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนภาคราชการและองค์กรการกุศลที่มีอยู่มิอาจให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง จนเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชนอันเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากการป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัด ผู้ที่เดือนร้อนจึงรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องได้รับความเดือดร้อนเฉพาะชาวพื้นที่ของตนเอง ขณะที่พื้นที่ติดกันได้รับความสะดวกสบายอย่างเป็นปกติ

    ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงออกปฏิบัติภารกิจในโครงการ ฯ เป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกรับน้ำใจจากผู้ไม่ประสบอุทกภัยที่สถานีบริการน้ำมัน ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เสด็จพระดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 34 เขตบางกอกน้อย ซอยจรัญสนิทวงศ์ 82, 84 และ 86 เขตบางพลัด

    การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนี้ส่งผลให้เหตุการณ์สงบลงอย่างปาฏิหารณ์ จากนั้นมาโครงการ ฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 และได้พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา

วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันเกื้อหนุนประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามทุกข์ยากจากอุทกภัยที่รุนแรง คือ นอกจากจะยังสนับสนุนให้ผู้ทุกข์ยากน้อยกว่าช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากมากกว่า ผู้ที่แข็งแรงช่วยผู้อ่อนแอ เป็นต้น โดยเน้นการประทังชีวิตและการฟื้นฟูสภาพจิตใจ

เคล็ดลับการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์H1N1

กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาด

โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว







ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.saiyairak.com/Project.aspx เป็นอย่างยิ่ง


บันทึกพระราชกระแส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชทานแก่ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและคณะที่เข้าเฝ้าฯ
เพื่อรับพระราชทานพระราโชบาย การปฏิบัติหน้าที่ในงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ ศาลามิตราภิรมย์ วังศุโขทัย
------------------------------------------------------------------------
         
           การดำเนินงานของโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร    ทรงมอบหมายให้อยู่ภายใต้   พระดำริและพระประสงค์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์   พระวรชายาฯ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายหลักตามความจำเป็นของโครงการ มีกรอบขอบเขตการดำเนินงาน ซึ่งก็จำเป็นที่จะต้องมีเป้าหมายย่อย หรือเป้าหมายรองไว้ด้วย การทำงานนี้ต้องค่อยทำ ค่อยเป็นค่อยไป ต้องอาศัยข้อมูล ต้องคำนึงถึงการตอบรับหรือเสียงสะท้อนกลับ (FEED BACK) และต้องพิจารณาเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ ประกอบ การทำงานดังกล่าวนี้ นอกจากต้อง ค่อยทำไป บางอย่างก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า บางอย่างก็ต้องเสริมยอดเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด หรือเป็นการทำงานเพื่ออัดแน่นเสริมให้เกิดความมั่นคงยิ่งขึ้น โดยต้องมีการพัฒนา ตลอดจนวิเคราะห์ผลการปฏิบัติว่าได้ผลตรงเป้าหมายหรือไม่เพียงใดด้วย
              การดำเนินงานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวนี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องความเป็นอยู่ ร่างกาย อารมณ์ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความสุข และความอบอุ่นในชีวิต ในครอบครัวและชุมชน ให้สามารถดำเนินไปได้ตามอัตภาพ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกไม่ออก ต้องได้รับการดำเนินงานไปด้วย (สมัยนี้นิยมใช้คำว่า การบูรณาการ) จะเห็นว่าโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวนี้ เกี่ยวข้องกับปากท้อง สังคม จิตวิทยา อารมณ์ สุขภาพ และสุขอนามัย     นอกจากนั้น ยังเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ซึ่งส่งผลถึงเศรษฐกิจของครอบครัว และยังเกี่ยวข้องกับจริยธรรม ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง จึงเป็นโครงการที่หน่วยงานต่างๆจำเป็นต้องช่วยเหลือร่วมมือกัน เป็นการบูรณาการหลายหน่วยราชการ
             ท่านที่เข้ามาช่วยเหลืองาน ในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในฐานะเป็นผู้แทนกระทรวง ทบวงกรม และใช้อำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวงกรมที่มีอยู่ เพื่องานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวนี้ ถือว่าท่านทั้งหลาย ได้มาร่วมทำบุญแก่ราษฎร โดยเป็นการที่ท่านได้เข้ามาเสริมถวายงานในสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการที่จะช่วยเหลือราษฎร เป็นการช่วยราษฎรผ่านสถาบัน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึง ตรา ยี่ห้อ หรือสัญลักษณ์ ของโครงการที่ท่านทั้งหลายร่วมกันทำงานอยู่ว่า งานนี้เป็นโครงการซึ่งสมาชิกของพระราชวงศ์ประทานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่การทำเพื่อเอาหน้า แต่เป็นการออกไปเพื่อให้บริการและดูแลประชาชน จะเห็นว่าโครงการนี้ เป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร (NON PROFIT) ไม่ใช่ธุรกิจ (NON BUSINESS) และไม่มีการเมือง (NON POLITICAL) เป็นการทำงานซึ่งเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


ผู้ที่เข้ามาร่วมทำงานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวนี้ ผู้ใดที่เกษียณอายุราชการถ้ามีศรัธราในการร่วมกันทำงานก็เห็นว่าน่าจะพิจารณาให้เข้ามาช่วยกันทำงานต่อไป 



               การดำเนินงานในโครงการนี้ จำเป็นต้องใช้ทั้งหลักวิชาการและใช้ยาผีบอก ยาผีบอกที่ว่านี้ก็คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงแบบไทยๆ ได้แก่ วัฒนธรรม สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะบางทีใช้วิธีแบบฝรั่งหรือวิชาการมาก ก็อาจไม่ตรงเป้า จึงจำเป็นต้องใช้การผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลตรงตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม การทำงานต้องมีกรอบขอบเขตและมีจุดอ้างอิงหรือมีรายการปฏิบัติที่ชัดเจน (CHECKLIST)และในการทำงาน บางทีก็ต้องเปลี่ยนเป้าหมายบ้างเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์ จำเป็นต้องมีการวางแผน (GAME PLAN) ประกอบกับการใช้ความคิดควบคู่กันไปเสมอ เราอาจไม่ได้ผลตามเป้าหมายเสมอไป งานทุกงาน ย่อมมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด ก็ให้ถือว่าเป็นการทดลองผิด ทดลองถูก ถือว่าเป็นบทเรียน แล้วพยายามเติมเต็มในส่วนที่ผิดพลาดหรือในส่วนที่ยังขาดไป เน้นว่างานของโครงการนี้เราไปเติมเสริมยอดในส่วนที่ยังขาดให้ประชาชน โดยต้องพิจารณาถึงผลตอบกลับ หรือเสียงสะท้อนกลับ (FEED BACK ไว้เสมอ และช่วยกันแก้ไข ปรับสถานการณ์ให้ได้เป้าหมายตามที่ต้องการ

โครงการ ทู บี นัมเบอร์ 1 (To be Number 1) : เพื่อนใจวัยรุ่น ร่วมก้าวสู่ความเป็นเลิศ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tobenumber1.net/about/about.asp เป็นอย่างยิ่ง

ไฟล์:ปกนิตยสารทูบีนัมเบอร์วัน.jpg

1. โครงการ TO BE NUMBER ONE คืออะไร
2. การสมัครสมาชิก
3. สมาชิกได้รับสิทธิอะไรบ้าง



โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นองค์ประธาน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การรณรงค์ปลกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
นักเรียน / นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สนใจสมัครสมาชิกได้ที่
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน / เขต / จังหวัด ที่อาศัยอยู่
- ภูมิภาค สมัครได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร สมัครได้ที่ สำนักงานเขต

กิจกรรมในชมรม คือกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรก็ได้ที่ให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม และดูแลช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิก เช่น กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น โดยมี ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น หรือ ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นให้บริการโดยอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นที่มีวัยใกล้เคียงกัน หรือวัยเดียวกันกับวัยรุ่น ซึ่งมีบริการดังนี้
1. บริการให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการพูดคุยปรึกษาปัญหาต่าง ๆ มีบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม โดยอาสาสมัครประจำศูนย์ ฯ และบริการปรึกษาทางโทรศัพท์
2. บริการฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง มีบริการด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยคอมพิวเตอร์จากคู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ทางระบบอินเตอร์เนต นอกจากนี้สามารถศึกษาหรือประเมินตนเองจากแบบประเมินต่าง ๆ เช่น แบบประเมิน EQ แบบประเมินความเครียดที่สามารถวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้ใช้บริการ ทราบผลได้ทันที หรือจากจุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากผู้ใช้บริการยังไม่สามารถค้นพบตัวเอง หรือค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับที่พึงพอใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนา EQ และกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน โดยอาสาสมัครจะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม กิจกรรมดังกล่าวจะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักเพื่อนแล้วยังทำให้วัยรุ่นได้พัฒนา EQ ของตนเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากยาเสพติด
3. บริการกิจกรรมเสริมทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุข เป็นบริการแนะนำ และฝึกกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจของเยาวชน โดยอาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ DJ และอื่น ๆ เป็นต้น

ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดตั้งขึ้น 4 แห่ง ได้แก่  
- ศูนย์การค้าแฟชั่นไอล์แลนด์
- ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์
- ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์รังสิต
- ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค



  • ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในจังหวัดภูมิภาค กำหนดจัดตั้งจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 75 จังหวัด





  • โดยให้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้าหรืออาคารในชุมชนเมืองที่เป็นแหล่งนัดพบของวัยรุ่น ที่มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80 ตารางเมตร เพื่อให้สามารถแบ่งส่วนให้บริการได้เป็น 3 ส่วน คือ บริการให้คำปรึกษา บริการแก้ปัญหาและพัฒนา EQ และบริการสร้างสุขด้วยดนตรี กีฬา และศิลปะ

    ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนเมืองให้บริการโดยอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ได้แก่ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของกรมสุขภาพจิต โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 - 20.00 น. ขณะนี้เปิดทำการแล้ว 5  แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอล์แลนด์ ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์รังสิต ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแคและในภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ต พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่

    กำหนดจัดตั้งขึ้นในจังหวัดภูมิภาค 75 จังหวัด ไม่เกิน 100 แห่ง โดยจัดหาสถานที่ ที่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนดภายในหมู่บ้าน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์เยาวชนซึ่งเลิกใช้แล้ว อาคารในในสวนสาธารณะที่วัยรุ่นและเยาวชนมาใช้บริการได้สะดวก หรือใช้พื้นที่ในอาคารในชุมชนชนบทที่มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตร และจัดสัดส่วนการให้บริการเป็น 3 ส่วน คือ บริการให้คำปรึกษา บริการแก้ปัญหาและพัฒนา EQ และให้บริเวณสวนและสนามด้านนอกสำหรับการเรียนรู้และเล่นดนตรี กีฬา และศิลปะ กรณีพื้นที่น้อยให้ปรับใช้พื้นที่ตามช่วงเวลาการให้บริการ

    กำหนดจัดตั้งขึ้นใน 75 จังหวัด 150 แห่ง กรุงเทพมหานคร 50 แห่ง โดยใช้พื้นที่ในอาคารเรียน หรืออาคารใดอาคารหนึ่ง หรือมุมใดมุมหนึ่ง ในที่ตั้งของชมรม
    สื่อและเทคโนโลยีประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นประกอบด้วย หนังสือคู่มือและ CD ชุดเทคโนโลยีสำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเป็นความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นและเป็นคู่มือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
    1. สะท้อนภาพวัยใส สะท้อนใจวัยทีน
    2. เพื่อนช่วยเพื่อน
    3. สานสายใยหัวใจรัก
    4. สอนวัยรุ่นไม่วุ่นอย่างที่คิด
    5. คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ
    6. คู่มือการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน

    1. สำนักงานโครงการ
        โทรศัพท์ 0 2590 8182 , 0 2950 8888 โทรสาร  0-2589-0938,0-2149-5531
     
    2. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นเดอะมอลล์บางแค ชั้น 4 โซนสวนสนุก โทร 02 454 5105 , 02 454  4781 โทรสาร 02-4544781
    3. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นแฟชั่นไอล์แลนด์ บริเวณชั้น 2 ฝั่งโฮมโปร
        โทรศัพท์ 0 2947 5819 โทรสาร 02 947 5819
    4. ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ บริเวณชั้น 4 ฝั่ง EGV
        โทรศัพท์ 0 2 864 1721 , 02 720 2187 โทรสาร 02 721 8315
    5. ศูนย์ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ชั้น 3 โซน IT Mobile
        โทรศัพท์ 0 9580011 ต่อ 1496-7

    รักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว

    วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    ข้อมูลผู้บริจาคและผู้มีอุปการคุณจากอดีตสู่ปัจจุบัน

    1.นาย ทองสุข เชาวน์เจริญ  บริจาคที่ดินเป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีอนามัยโคกพนมดี
    2.นายทวีวัฒน์ ตันศิริเศรษฐ์ พัดลมติดเพดาน
    3.นายหวัง นางสำเนียง  รุ่งเรือง เครื่องทำน้ำเย็น
    4.นายจำนง รอดภัย พัดลมติดเพดาน
    5.นายประหยัด นางละม่อม เดชสอน พัดลมติดเพดาน
    6.นายวิชา นางวราภรณ์ ชินสมบูรณ์ 5,000 บาท
    8.นางสาวอนงค์ เชาวน์เจริญ 5,000 บาท
    9.บริษัทTSLสิ่งทอจำกัด
    10.บริษัท แสดง พาเนล จำกัด
    11.บริษัท อินเตอร์ออแกนิค จำกัด
    12.สจ.ธวัชชัย นางสมจิต ขยันยิ่ง เก้าอี้หินอ่อน

    13.นางกิมลี้ เช้าเจริญ โต๊ะทำงาน (สอ.หลังเดิม)
    14................
    ...................(ข้อมูลการบริจาคของท่านอื่นๆกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล)...........
    .........

    ข้อมูลผู้บังคับบัญชาตามสายงาน

    โดย สร้อยสน ปานอนันต์
    นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เริ่มดำรงตำแหน่ง
    15 มกราคม พ.ศ. 2553

    นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    สมัยก่อนหน้านายวิทยา แก้วภราดัย

    จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
    คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553

    สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี
    นายแพทย์ระวี สิริประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ปราจีนบุรี
    Web site ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี http://www.pho.in.th/index.php?option=com_content&task=view&id=439&Itemid=230

    ร่าง ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในพื้นที่รับผิดชอบ

    โดย สร้อยสน ปานอนันต์

    นอกจากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่บ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิชแล้ว บ้านเล็กๆ ชายป่าค่อนข้างทึบของนายสมุทร สามารถ อายุ 86 ปี หมอยาสมุนไพรแผนโบราณและหมอขวัญก็เป็นถิ่นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่น่าสนใจ

    แม้นายสมุทร สามารถ จะเป็นชายสูงวัย แต่ฟันทุกซี่ก็ยังคงแข็งแรง ครั้งหนึ่งเคยไปผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ ก่อนจะเข้าห้องผ่าตัด พยาบาลบอกให้ถอดฟันปลอมออก นายสมุทร ก็บอกว่าถอดไม่ได้ พยาบาลถามว่าถ้างั้นจะถอดให้ ว่าแล้วก็พยายามดึงฟันของนายสมุทรออกมา แต่จะดึงอย่างไรฟันก็ไม่หลุด ตอนหลังจึงทราบว่า ฟันของนายสมุทร เป็นฟันแท้ ไม่ใช่ฟันปลอม

    นายสมุทรเคยถ่ายทอดให้ฟังว่า สามารถรักษาฟันเอาไว้ได้ทุกซี่ โดยใช้สูตรยาสีฟัน คือ พิมเสน สารส้ม เกลือและรากทะเล(กระดูก/ แกนกระโดงปลาหมึก) และไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วย เนื่องจากรับประทาน เถาบอระเพ็ดทุกวันๆ ละ 1 ข้อนิ้ว ซึ่งท่านใดสนใจก็ลองใช้วิธีดังกล่าวดูเห็นจะดีเป็นแน่แท้

    ร่าง เกียรติภูมิและรางวัลที่เคยได้รับ

    (ร่าง) โครงการ แผนงานและกิจกรรมที่น่าสนใจในอดีต

    สรุปสถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2550

    ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 25 ธันวาคม 2550  โรคที่ต้องเฝ้าระวัง 5 อันดับแรก ได้แก่
     โรคอุจจาระร่วง , โรคตาแดง , โรคปอดบวม , โรคอาหารเป็นพิษ และโรคอีสุกอีใส

    สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
    เดือนมกราคม ธันวาคม 2550 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 71.46 ต่อแสนประชากร

    เวลาให้บริการทางสาธารณสุขของสอ.โคกพนมดี

    จันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. 
    วันเสาร์-อาทิตย์ ครึ่งแรกของเดือน
    -ให้บริการโดย นายอุดมรัตน์ ยั่งยืน
    วันเสาร์-อาทิตย์หลังของเดือน
    -ให้บริการโดย นายรังสรรค์ เชาวน์เจริญ
    หมายเลขโทรศัพท์สถานีอนามัยโคกพนมดี  037-277115

    ร่าง โครงการและแผนงานประจำปี.......สอ.โคกพนมดี

    รายชื่อ อสม. สอ. โคกพนมดี

    โดย สร้อยสน ปานอนันต์
    อสม.หมู่1 บ้านสระข่อย
    1.นางเรณู สดศรี
    2.นางนิภา สดศรี
    3.นางประภัสสร   จันทรศรี
    4.นางสุธัญญา อินทรสร
    5.นางทองเล็ก คำซาว
    6.นางแปล ทองแปลง
    7.นางสาวอุบลรัตน์ คำซาว
    8.นางสวา บุยเรือง ม่วงขาว
    9.นายวิชิต พันธุ์มงคลรัตน์
    10.นายภิญโญ คำแหง
    11.นางวงเดือน เอี่ยมอ่อน
    12.นางนฤมล บ้องทองกุล
    13.นายสุรศักดิ์ นฤทัย
    14.นายสำรวย ศรีจันทร์
    15.นายเล็ก ดำจ้อย
    16.นางฉลวง ดำจ้อย
    17.นางลมัย จันทร์สุวรรณ
    18.นางคมคาย ซาจันทร์
    19.นางทองเอื้อ โพธิ์เมือง
    20.นางอารี ลีนา
    21.นางศรินยา ป้องทองสกุล
    22. นางธนัฐพร ป้องทองสกุล
    23.นางกานต์มณี กวางทอง
    24.นางสายพิณ พรมมา
    25.นางศรีนวล วงษ์สุวรรณ
    26.นางถวิล ศรีจันทร์
    28.นางเฉลียว คงเสือ
    29.นางนฤมล รักแดง

    อสม.หมู่7 บ้านโคกพนมดี

    1.นางแดง อุ่นทะวงษ์
    2.นางสายฝน ห้วยใหญ่
    3.นางระเบียบ โคตรสุวรรณ
    4.นางประพิศ เจนตน
    5.นางเพชร ทรัพย์บรรจง
    6.นางกิมลี้ ชมพู
    7.นางสำรวบ เปลี่ยนอนุกูล
    8.นางกุหลาบ ศรีฤดี
    9.นายสาธิพย์ มะธุระ
    10.นางบุญหลง เจนการ
    11.นางประไพ พ่วงอ่อน
    12.นายถาวร ชูช่าง
    13.นางวิลาสินี สามารถ
    14.นางเมตตา เทพเทียน
    15.นางสมจิตต์ ชัยศรี
    16.นางวารุณี ทองนุช
    17.นางสมควน จูกิม
    18.นายมานะ ศรีพรมมา
    19.นายประนม แสงรัตน์
    20.นางนุต ศรีเขตต์
    21.นายกิตติ ผาสุข
    22.นางพาชื่น สานมะโน
    23.นางเสริมศรี เจนการ
    24.นางสำเนียง ดอนปัด
    25.นางนกแก้ว แซ่แต้
    26.นางสมศักดิ์ สามารถ
    27.นางสำเนา ธัญหาร
    28.นางจันทนา บุญสายปัก

    พื้นที่รับผิดชอบของสอ.โคกพนมดี


    ต.โคกไทย
    บ.โคกพนมดี

    ข้อมูลประชากร2552

    จำนวนประชากรสถานีอนามัยบ้านโคกพนมดี ตำบลโคกไทย อำเภอ ศรีมโหสถจังหวัด ปราจีนบุรี
    0-9 ปี
    10-19 ปี
    20-29 ปี
    30-39 ปี
    40-49 ปี
    50-59 ปี
    60-69 ปี
    70-79 ปี
    80-89 ปี
    >90 ปี
    ทั้งหมด


    ชาย
    340
    หญิง
    317
    ชาย
    347
    หญิง
    314
    ชาย
    309
    หญิง
    420
    ชาย
    332
    หญิง
    451
    ชาย
    308
    หญิง
    349
    ชาย
    200
    หญิง
    212
    ชาย
    191
    หญิง
    183
    ชาย
    70
    หญิง
    78

    ชาย
    20
    หญิง
    35

    2

    4
    ชาย
    2,119
    หญิง
    2,363
    รวม
    4,482

    บ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

    (ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://sustainabletourismdpu.blogspot.com/)

    บ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา เป็นที่รู้จักกันมานานของชาวบ้านในท้องถิ่น พระครูศรีมหาโพธิคณานุรักษ์ (มรณภาพแล้ว) ขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง และเจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรีซึ่งเป็นผู้สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในพื้นที่จ.ปราจีนบุรี เป็นผู้แจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร  เดินทางไปสำรวจและทำแผนผังเพื่อดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ. 2528

    ต่อมาเมื่อกลางปี2550 ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้รับความอนุเคราะห์จากหัวหน้าสถานีอนามัยโคกพนมดีนำทางไปสำรวจสถานที่ดังกล่าวและได้ส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวกลับมาให้ จึงขอนำมาเผยแพร่ในที่นี้อีกแห่งหนึ่งด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไป

    ภูมิปัญญาการอบสมุนไพรที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา


    (ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://sustainabletourismdpu.blogspot.com)

    แหล่งอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่สวนป่าสมุนไพรในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนถนนสาย ๓๐๔ ห่างจากตัวอำเภอพนมสารคามประมาณ ๑๕ กม. และห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๑๒๐ กม.สวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ก่อตั้งเมื่อพ.ศ.๒๕๒๓ ประกอบด้วยพืชสมุนไพรต่างๆ กว่า ๘๐๐ ชนิด

    กิจกรรมสำคัญของสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน คือ บริการอบสมุนไพร จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และเพาะพันธุ์กล้าสมุนไพรเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่สนใจ
    วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาคารอบสมุนไพร
    เพื่อบริการชุมชนและให้คนไทยสนใจและให้ความสำคัญกับสมุนไพรมากขึ้น ฟื้นฟูวัฒนธรรมการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพแบบไทยๆที่ดี ประหยัด เรียบง่าย ตัวยาหาได้ในท้องถิ่น และวงการแพทย์ให้การยอมรับ
    ระยะแรก อาคารอบสมุนไพรเป็นอาคารชั้นเดียว มีห้องอบเพียง ๒ ห้อง แยกชาย-หญิง ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง

    ปัจจุบัน อาคารหลังใหม่เปิดทำการเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๕ เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีห้องอบสมุนไพร ๘ ห้อง แยกเป็นห้องอบชายรวม ๑ ห้องอบชายเดี่ยว ๓ ห้องอบหญิงรวม ๑ ห้องอบหญิงเดี่ยว ๓ ใช้ระบบควบคุมพลังงานไอน้ำด้วยไฟฟ้า

    การให้บริการ

    เปิดเฉพาะวันเสาร์- อาทิตย์ ระหว่าง ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.
    ค่าบริการห้องอบรวมท่านละ ๓๐ บาท
    ห้องอบเดี่ยวท่านละ ๕๐ บาท
    ห้องอบเดี่ยวสูตรพิเศษท่านละ ๖๐ บาท
    หากประสงค์จะขอใช้บริการนอกเวลาเปิดทำการตามปกติ กรุณาแจ้งล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ - ๕๙๙๑๑๓

    สูตรสมุนไพรที่ใช้อบ

    ใช้สมุนไพรรวม ๗ ชนิด ได้แก่ ใบหนาดใหญ่ ใบตะไคร้หอม ใบและผลมะกรูด ใบส้มป่อย ใบเปล้าใหญ่ หัวไพลและผงการบูร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ บำรุงผิวพรรณและทำให้ร่างกายสดชื่น มิได้เน้นเพื่อรักษาโรค เพราะอาคารอบสมุนไพรมิใช่สถานพยาบาล

    การใช้บริการห้องอบเดี่ยวมีการเพิ่มสมุนไพรสูตรพิเศษ เลือกใส่เพิ่มตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น

    สูตร ๑ แก้ปวดเมื่อย เพิ่มเถาเอ็นอ่อนและหัวไพล
    สูตร๒ บำรุงผิวพรรณ เพิ่มหัวขมิ้นชันและใบส้มป่อย
    สูตร ๓ แต่งกลิ่นกายให้หอมสดชื่น เพิ่มไพล เร่วหอม ว่านสาวหลงและหัวเปราะหอม
    สูตร ๔ แก้หวัดคัดจมูก เพิ่มหัวว่านหอมแดงและหัวเปราะหอม

    ขั้นตอนการอบสมุนไพร
    อาบน้ำชำระสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้น
    เข้าอบตัวในห้องอบสมุนไพร อุณหภูมิ ๔๐-๔๕ องศาเซลเซียส ประมาณ ๑๕ นาที สำหรับผู้ไม่เคยอบมาก่อนอาจใช้เวลาน้อยกว่านี้ ถ้าอึดอัดให้เปิดผ้าขาวบางออกมาหายใจที่ช่องกระจก
    ออกมานั่ง ๓- ๕ นาที แล้ว เข้าอบอีกครั้ง ประมาณ ๑๕ นาที
    ออกมานั่งพักและดื่มน้ำสมุนไพร น้ำขิง น้ำลำไย น้ำตะไคร้ น้ำลำไยหรือน้ำเปล่าชดเชย
    จากนั้นนั่งพักปะมาณ ๒๐ นาที จึงอาบน้ำอีกครั้ง ไม่ควรอาบทันทีหลังจากออกจากห้องอบ หากจะอบรอบต่อไปควรพักประมาณ ๑ ชั่วโมง

    ประโยชน์ของการอบสมุนไพร
    โลหิตไหลเวียนดี แก้ปวดเมื่อยวิงเวียนศีรษะ ลดไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย รักษาเหน็บชา อัมพฤกษ์และอัมพาต รักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ปอดขยายและหายจากอาการหอบหืดในระยะที่ไม่มีอาการรุนแรง รักษาโรคภูมืแพ้ รักษาหวัด น้ำมูกไหลแต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก ช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่เร็วของสตรีหลังคลอด

    ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
    ขณะมีไข้สูงมากกว่า ๓๘ องศาเซลเซียส เพราะอาจมีการติดเชื้อโรคต่างๆได้
    โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด

    โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ไต ลมชัก หอบหืดระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง และความดันโลหิตสูง

    สตรีขณะมีประจำเดือนร่วมกับมีอาการไข้และปวดศีรษะร่วมด้วย
    มีอาการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ
    อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทนอาหารใหม่ๆ ปวดศีรษะชนิดเวียนศีรษะและคลื่นไส้

    คุณค่าที่ได้รับ

    การเดินทางครั้งนี้เป็นเพื่อศึกษาและเรียนรู้คุณการดำเนินชีวิตตามแนวความคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและเป็นการทัศนศึกษาส่วนหนึ่งของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยถือเป็นจุดเน้นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวปี๒๕๕๐ อย่างทันสมัย อันจะทำให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นบ้านพื้นเมืองที่มีการอนุรักษ์และสืบทอดมาในรูปแบบของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

    จากประสบการณ์การอบสมุนไพรสังเกตว่า สมาชิกแต่ละคน แม้จะเป็นผู้สูงวัย แต่ใบหน้าแต่ละท่านกลับผ่องใส

    ไร้ริ้วรอยสิวฝ้าและจุดด่างดำ ส่วนรอยเหี่ยวย่นนั้นมีบ้างตามวัย
    เมื่อได้สอบถามวัยรุ่นบางคนที่เคยเป็นสิว ได้รับคำตอบว่าใบหน้าของตนหายเป็นปกติจากการอบสมุนไพร

    ต่อเนื่องประมาณ ๕-๖ ครั้ง บางคนเป็นหวัดจามบ่อยก็ทุเลาลง
    จึงขอร่วมประชาสัมพันธ์ให้หันมาใส่ใจกับสุขภาพด้วยการท่องเที่ยวไปกับเส้นทางการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยนี้

    วันนี้ช่วงของเวลาเที่ยวทั่วไทยได้หมดเวลาแล้ว หากสนใจข้อมูลดังกล่าวติดต่อได้ที่ ๐๒ ๙๕๔๗๓๐๐ ต่อ ๒๙๓

    ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่จังหวัดปราจีนบุรี

    (ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://sustainabletourismdpu.blogspot.com)



    การเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่บ้านหัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

    แหล่งท่องเที่ยวที่เราจะเดินทางไปเที่ยวชม คือ บ้านของอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช

    อาจารย์ สุนทร ชวนะพานิช อายุ ๔๘ ปี เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นสาขาภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสุขภาพระดับชาติ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยของ จ.ปราจีนบุรีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เป็นประธานชมรมหมอพื้นบ้าน อ.ศรีมหาโพธิ เป็นกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ฯลฯ

    บ้านของอาจารย์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการในจังหวัด

    ภูมิลำเนาเดิมของอาจารย์สุนทรเป็นชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจารย์สุนทร ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหัวหว้า ตำบลหัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เมื่อ ๑๗ ปีที่ผ่านมา

    อยู่อย่างพอเพียงแบบอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช : อยู่อย่างไร
    จากไร่มันสำปะหลังเก่า เนื้อดินแบบลูกรังผุพังผสมกับดินเหนียวปนทราย มีพื้นที่โดยรวมประมาณ ๘ ไร่ อาจารย์สุนทรใช้เวลา ๑๗ ปีปลูกป่าสมุนไพร จนร่มรื่น มีกระท่อมที่พักอาศัย โรงเพาะชำ อโรคยศาลา(สถานพยายบาล) ๑ หลัง ลานตากสมุนไพร สระน้ำและบ่อน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค
    รายได้หลักของอาจารย์สุนทร คือ การขายพืชผักพื้นบ้านและสมุนไพรที่ผลิตขึ้นจากป่าในเขตบ้าน โดยเฉพาะผลเสาวรส ซึ่งมีดกดื่นเกาะเลื้อยอยู่ตามไม้ยืนต้น นอกจากนี้อาจารย์สุนทรยังส่งสมุนไพรให้แหล่งจำหน่ายหลายแห่งด้วย

    อาจารย์และภรรยาบอกว่า ทั้งหมดนี้เป็นความรวยในความพอเพียง ตามคติการดำเนินชีวิตของอาจารย์ คือ ผักพื้นบ้าน อาหารเป็นยา ฟื้นฟูวัฒนธรรมกินอยู่ หลับนอนวิถีธรรมชาติเพื่อสุขภาพ ไม่เน้นความฟุ่มเฟือย  การกินที่ผิดสุขลักษณะเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย
    ชาวตะวันตกมักพูดว่า “Your are what you eat” คือ คุณกินอะไรเข้าไปร่างกายก็จะแสดงสิ่งนั้นออกมา เช่น กินแคบหมูน้ำพริกหนุ่มมาก ก็จะมีไขมันในเส้นเลือดมาก กินผักผลไม้มากระบบขับถ่ายของเสียในร่างกายก็ทำงานดี อบสมุนไพรมากหน้าตาผิวพรรณก็จะสะอาดเปล่งปลั่งเยาว์วัยเสมอเช่นกัน
    แนวคิดของอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช ก็คล้ายกับคำกล่าวข้างต้น คือ ท่านเห็นว่าร้อยละ ๙๕ ของคนเราที่เจ็บป่วยทุกวันนี้ เกิดจากนิสัยในการกินอาหารที่ไม่เป็นเวลา กินได้ทั้งวัน บางทีวันทั้งวันอยู่แต่ในห้องแอร์ จนร่างกายไม่มีโอกาสขับเหงื่อออกมาเท่าที่ควร
    การกินอยู่หลับนอนอย่างเหมาะสมจะช่วยให้คนเราสุขภาพดี
    การออกกำลังด้วยการเดินชมสวนสมุนไพร

    บ้านอาจารย์สุนทรเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย อาจารย์สุนทรสามารถจำชื่อและสรรพคุณสมุนไพรนานาชนิดอย่างแม่นยำ ในสวนมีทางเดินปูแผ่นศิลาแลง ซึ่งอาจารย์จะพานักเรียน นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เข้ามาดูงาน เดินลัดเลี้ยวไปมา ทั้ง ชมและชิม สมุนไพรและผลไม้พื้นบ้านในสวน อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

    ในสวนมีสมุนไพรประมาณ ๒๐๐ ชนิด ผสมผสานกับไม้ผลพื้นเมือง เช่น เสาวรส กล้วย ขนุน มะม่วง มะละกอ ส้มโอ มะพร้าว เป็นต้น และถ้าโชคดีอาจมีโอกาสเห็นไก่ป่าด้วยเช่นกัน
    บ้านอาจารย์สุนทรเป็น Home stay ด้วย

    อาจารย์สุนทร เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ดังนั้น นอกจากจะผลิตสมุนไพรจำหน่ายแล้วยังรับรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคอัมพฤกษ์ และโรคอื่นๆ

    นอกจากนี้อาจารย์ยังมีกระท่อม จำนวน ๓ หลัง กลางป่าสมุนไพรสำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวที่สนใจมาศึกษาวิถีชีวิตแบบพอเพียงด้วย

    สมุนไพรที่น่าสนใจในสวนอาจารย์สุนทรมีทุกรส
    ได้แก่ รสมัน รสเค็ม รสเผ็ด รสร้อน รสเผ็ดร้อน รสเย็น รสฝาด รสหอมเย็น รสหวาน แต่ละรสก็จะมีสรรพคุณในการบำบัด ป้องกัน รักษาโรคและสุขภาพแตกต่างกันออกไป อาจารย์สุนทรสามารถใช้ทั้งต้น ดอก ใบ ผล ราก กิ่ง เปลือกของสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเลือกเก็บตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สรรพคุณยาตามตำรา

    สมุนไพรจำนวนมากออกดอกและผลสะพรั่งในหน้าฝนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงการบำรุงรักษาอย่างเอาใจใส่  ได้แก่ เสาวรส(รสเปรี้ยวร้อน) อาจารย์บอกว่า ถ้า กินได้วันละ ๒ ลูกจะไม่เจ็บไข้ โด่ไม่รู้ล้ม(เพิ่มพลังบุรุษ) เจตมูลเพลิงแดง(ขับประจำเดือน) ว่านหางปลาไหล(แก้ไข้) เร่ว(ขับลมและโรคบุรุษ) ว่านสาวหลง(บำรุงผิวพรรณ/ เมตตา) ว่านเจ็ดกำลังช้างสาร หนุมานประสานกาย สังกรณี ตรีชวา(ภูมิแพ้) ดอกดาหลา(กินเป็นผักสลัด) พิลังกาสา(ตับพิการ) เป็นต้น

    หลังจากเดินชมสมุนไพรจนสุขใจแล้ว นักท่องเที่ยวใจกล้าบางคนยังมีโอกาสตื่นเต้นกับการจับหนอนจุลินทรีย์ สีขาวตัวโตอ้วนพี ดิ้นยั้วเยี้ยในมือ อาจารย์สุนทรบอกว่า หนอนชนิดนี้ เป็นหนอนกำจัดมลภาวะ เกิดจากน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ผสมกับผลไม้รสเปรี้ยว และน้ำตาลทรายแดง สูตรนี้ไม่ใช้กากน้ำตาลเพราะว่ากากน้ำตาลมีการปนเปื้อนสารเคมีและต้องใช้เวลาหมักนานกว่าการใช้น้ำตาลทรายแดงมาก

    น้ำจุลินทรีย์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานาประการ เช่น ล้างจาน ซักผ้า สระผม รดพืช ผัก ผลไม้ เป็นต้น

    นักท่องเที่ยวยังสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพเป็นของฝากกลับบ้าน ได้แก่ สมุนไพรต่างๆ น้ำว่านครอบจักวาล น้ำจุลินทรีย์ หมอนสุขภาพ ฯลฯด้วย

    พระราชบัญญัติในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข(5)

    พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2530
    เก็บมาเล่าโดย
    สร้อยสน ปานอนันต์

    มาตรา
    "การประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า  การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรคการส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ

    "การแพทย์แผนไทย" หมายความว่า  การประกอบโรคศิลปะตามความรู้หรือตำราแบบไทยที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา หรือตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง

    "เวชกรรมไทย" หมายความว่า  การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกันโรคด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
    "เภสัชกรรมไทย" หมายความว่า  การกระทำในการเตรียมยา การผลิตยาการประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย และการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา  ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

    "การผดุงครรภ์ไทย" หมายความว่า  การตรวจ การบำบัด การแนะนำ และ
    การส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด
    การทำคลอด การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด  ทั้งนี้ ด้วยกรรม
    วิธีการแพทย์แผนไทย

    "การแพทย์แผนไทยประยุกต์" หมายความว่า  การประกอบโรคศิลปะตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง และใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการบำบัดโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    "ผู้ประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า  บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
    เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะจากคณะกรรมการวิชาชีพ

    "ใบอนุญาต" หมายความว่า  ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
    "คณะกรรมการ" หมายความว่า  คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ

    มาตรา การประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
     (1) สาขาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการแพทย์แผนไทยประเภทอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกรรมการ
     (2) สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
     (3)  สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
    มาตราให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่น รวมทั้งออกระเบียบและประกาศ  ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

                 มาตรา ให้มีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นดังต่อไปนี้
     (1) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวนสี่คน กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบำบัดและสภาเทคนิคการแพทย์ แห่งละหนึ่งคน และผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ สาขาละสองคน และ
     (2) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินห้าคน
    ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

                    มาตรา 14  ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
     (1) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
     (2) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

    มาตรา 23  คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขามีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (1) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ
    (2) เพิกถอนใบอนุญาตกรณีผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้นขาดคุณสมบัติ
     (3) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อใช้อำนาจตามมาตรา 13 (2)
     (4) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในกรณีที่ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้นประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
     (5) ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่สถานศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
     (6) แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารด้วยวิธีใด ๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ประชาชนหลงเข้าใจผิดซึ่งอาจเป็นอันตรายเนื่องจากการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
     (7) ส่งเสริม พัฒนาและกำหนดมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
     (8) ออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
    (9) พิจารณาและเสนอชื่อผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้นเป็นกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
     (10) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้น
     (11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้น
     (12) พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

    มาตรา 30  ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะ หรือกระทำด้วยประการใด ๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
     (1) การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง
     (2) การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
     (3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนด
     (4) บุคคลที่เข้ารับการอบรมหรือรับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย กระทำการประกอบโรคศิลปะในระหว่างการอบรมหรือการถ่ายทอดความรู้ในการควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนด
     (5) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
    (6) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระทำการประกอบโรคศิลปะในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
     (7) การประกอบโรคศิลปะของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการหรือผู้สอนในสถาบันการศึกษาซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะของต่างประเทศ  ทั้งนี้ โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการวิชาชีพ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนด

    มาตรา 32  ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
    (1) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
     (2) เป็นผู้มีความรู้ในวิชาชีพตามมาตรา 33
     (3) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
     (4) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าอาจจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
     (5) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
    (6) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพหรือเป็นโรคที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ  (ปัจจุบันยกเลิกข้อห้ามนี้แล้ว)
    (7) ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

    มาตรา 35  ห้ามมิให้ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาใดสาขาหนึ่งประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

    มาตรา 36  ผู้ประกอบโรคศิลปะมีหน้าที่แจ้งวิธีการประกอบโรคศิลปะให้ผู้ป่วยทราบ และให้ผู้ป่วยมีสิทธิในการเลือกวิธีการบำบัดโรคที่จะใช้กับตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน

    มาตรา 37  ผู้ประกอบโรคศิลปะต้องประกอบโรคศิลปะภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

    มาตรา 38  ผู้ประกอบโรคศิลปะต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

    มาตรา 39  บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบโรคศิลปะฝ่าฝืนมาตรา 36 หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบ

    โรคศิลปะตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นโดยทำคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ
    กรรมการวิชาชีพหรือบุคคลอื่นซึ่งพบหรือทราบว่าผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นโดยทำคำกล่าวโทษต่อคณะกรรมการวิชาชีพ

    มาตรา 47  ภายใต้บังคับมาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทำการประกอบโรคศิลปะหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะนับแต่วันที่ทราบคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

    มาตรา 48  ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและถูกศาลพิพากษาลงโทษตามมาตรา 58 คดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

    มาตรา 49  ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แต่เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพได้พิจารณา

    คำขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพปฏิเสธการออกใบอนุญาต ถ้าคณะกรรมการวิชาชีพปฏิเสธการออกใบอนุญาตเป็นครั้งที่สอง ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการตามมาตรา 53
    ถ้าคณะกรรมการมีความเห็นยืนตามความเห็นของคณะกรรมการวิชาชีพผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิขอรับอนุญาตอีกต่อไป

    มาตรา 50  ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังนี้
     (1) เข้าไปในสถานที่ของผู้ประกอบโรคศิลปะในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
     (2) เข้าไปในสถานที่ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบเอกสาร หลักฐานหรือสิ่งของที่อาจใช้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
    () เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบในเวลากลางวันถ้ายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จจะกระทำต่อในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการก็ได้ หรือ
     () ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จะกระทำการตรวจสอบในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการก็ได้
     (3) ยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐานหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
    ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

    มาตรา 54  ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

    มาตรา 56  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือหนังสือแจ้งที่ออกตามมาตรา 28 หรือมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 57  ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     มาตรา 58  ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
    ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 59  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท