วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“โรงพยาบาล” ในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗


ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านโคกพนมดี ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี มีโบราณสถานที่เรียกว่า "อโรคยศาล" ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโบราณสถานพระพุทธบาทคู่ ณ วัดสระมรกต บ้านสระข่อย ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี  รพ.สต.บ้านโคกพนมดีเห็นว่า บทความเรื่อง โรงพยาบาลในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่7 มีเนื้อหาน่าสนใจ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ขอขอบคุณข้อมูลจาก นวพรรณ ภัทรมูล กลุ่มงานวิชาการ  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเป็นอย่างยิ่งค่ะ 

ภาพจากThai-tour.com ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อประชาชนมีโรคถึงความหายนะ ตามภาวะ
แห่งกรรมด้วยการสิ้นไปแห่งอายุเพราะบุญพระองค์ผู้เป็นราชา ได้กระทำโคที่สมบูรณ์ทั้งสาม เพื่อประกาศยุคอันประเสริฐ” 

ข้อความข้างต้นนี้ เป็นข้อความส่วนหนึ่งของจารึก ในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่อบอกถึงความมุ่งหมายในการสร้างสถานพยาบาล หรือ “อโรคยาศาล” (คำๆ นี้ปรากฏอยู่ในจารึกบรรทัดที่ ๗ ด้านที่ ๒ ของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่๗) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและภารกิจของอโรคยาศาลที่ได้ระบุไว้ในจารึกนั้น ก็เทียบได้กับโรงพยาบาลในปัจจุบันนั่นเอง จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่าที่พบในประเทศไทย ณ ตอนนี้ มีทั้งหมด ๖ หลัก ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกดังกล่าว ได้รับการรวบรวมและเผยแพร่ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นในหนังสือ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘) และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม
(กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) ตลอดจน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ที่จัดทาโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) การที่ได้จัดกลุ่มจารึกเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาที่จารึกนั้นมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันมาก จะต่างกันบ้างก็แต่จานวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุในจารึก อีกทั้งจารึกทุกหลักได้ระบุอย่างชัดเจนถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ดังนั้น พระนาม "ศรีชัยวรมัน" ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.. ๑๗๒๔๑๗๖๑

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (.. ๑๗๒๔๑๗๖๑)
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์มหิธรปุระโดยทางพระราชบิดา (พระเจ้าธรณินธรวรมันที่ ๒) ส่วนพระราชมารดานั้นก็
ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.. ๑๗๒๔ และอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชัยราชเทวี แต่พระนางสวรรคตเมื่อพระชนม์ยังน้อย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอินทรเทวี ซึ่งเป็นพระพี่นางของพระนางชัยราชเทวีอีกครั้งหนึ่ง พระนางอินทรเทวีทรงมีความรู้หลากหลาย ทรงรอบรู้ในปรัชญา และทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงมีพระเมตตาต่ออาณา ประชาราษฎร์เป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้สร้างสิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อประชาชนเป็นจานวนมาก ซึ่งการก่อสร้างนี้เอง เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง ราชอาณาจักรทรุดโทรมลงในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทรงโปรดให้สร้างสถาน พยาบาล หรือที่เราจะเรียกกันต่อไปนี้ว่าโรง พยาบาลนั้นถึง ๑๐๒ แห่ง ทั่วทั้งราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่รักษาคนป่วย อีกทั้งยังพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรคนั้น ทาให้สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ไปเป็นอันมาก

อโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล ประกอบด้วย ปรางค์ประธาน มีอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ล้อมรอบด้วยกาแพงแก้ว ตาแหน่งของบรรณาลัย มักจะอยู่ค่อนไปที่มุมด้านทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้เสมอ มีซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดกึ่งกลางของกาแพงแก้วด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกกาแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือที่เรียกว่า บาราย หรือสระน้าศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลง

อโรคยาศาล เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตาม รายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร จะเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แผ่พระราชอานาจไปถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้
โรงพยาบาลในจารึก

ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลคาอ่านคาแปลของ จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งหมด ๖ หลัก ได้แก่ จารึกพบที่จังหวัดสุรินทร์ ๓ หลัก คือ จารึกปราสาท (สร. ), จารึกตาเมียนโตจ (สร. ), จารึกสุรินทร์ ๒ (สร. ) จารึกพบที่จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัก คือ จารึกเมืองพิมาย (นม. ๑๗) จารึกพบที่จังหวัดบุรีรัมย์ ๑ หลัก คือ จารึกด่านประคา (บร. ) และจารึกพบที่จังหวัดชัยภูมิ ๑ หลัก คือจารึกวัดกู่บ้านหนองบัว (ชย. ) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบในส่วนของเนื้อหาแล้วพบว่า ทุกหลักมีเนื้อหาและการเรียงลาดับข้อมูลเหมือนกัน กล่าวคือ
จารึกด้านที่ ๑ จะขึ้นต้นด้วยการกล่าว
นมัสการเทพประจาโรงพยาบาล ตามด้วยสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และพระเทวี พร้อมกล่าวถึงมูลเหตุที่สร้างโรงพยาบาล” 
จารึกด้านที่ ๒ กล่าวถึงจานวนเจ้าหน้าที่ประจาโรงพยาบาลตลอดจน
หน้าที่ของแต่ละคน
จารึกด้านที่ ๓ กล่าวถึงจานวนสิ่งของเครื่องใช้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้อุทิศไว้
ข้อแตกต่างของจารึกแต่ละหลักมีเพียงส่วนของ จานวนเจ้าหน้าที่ และจานวนสิ่งของที่ได้รับมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่านั้น
อย่างไรก็ดี เมื่อตัดข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ไป ก็พบว่าเนื้อหาจารึกโดยรวมนั้น ได้ระบุถึงส่วนประกอบสาคัญที่ประกอบกันขึ้นเป็นโรงพยาบาลอันมีอยู่ ๓ ส่วน
ด้วยกัน ได้แก่ เทพประจาโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ประจาโรงพยาบาล สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล
- เทพประจาโรงพยาบาล
เทพประจาโรงพยาบาล มี ๓ องค์ด้วยกัน ได้แก่ พระไภสัชครุไวทูรย์ (พระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระชินะ ถือเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งผู้ประสาทความไม่มีโรคแก่ประชาชน
เทพอีกสององค์เป็นพระชิโนรส ได้แก่ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และ พระศรีจันทรไวโรจนโรหินีศะ ผู้ขจัดซึ่งโรคของประชาชน
- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลมีหลายตาแหน่ง แต่ละตาแหน่งมีจานวนบุคคลไม่เท่ากันในแต่ละโรงพยาบาล ในที่นี้จึงขอแสดงจานวนไว้คร่าวๆ ดังนี้
() แพทย์ จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่ดูแลทรัพย์สิน
ของโรงพยาบาล ธุรการ หาข้าวเปลือก หาฟืน
และจ่ายยา จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่จัดพลีทาน ทาบัตรจ่ายสลากยา หาฟืนเพื่อต้มยา จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่หุงต้ม ดูแลรักษาและจ่ายน้า หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญตลอดจนทาความสะอาดเทวสถาน จานวน ๑ ถึง ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่ดูแลรักษาโรง พยาบาล และส่งยาแก่แพทย์  ๑๔ คน
() เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ให้ สถิติ จำนวน ๒ ถึง ๓ คน
() เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ดูแล
ทั่วไป จำนวน ๔ คน
() เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่โม่ยา จานวน ๒ ถึง ๖ คน
() เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่ตำข้าว จานวน ๒ คน
(๑๐) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทาหน้าที่ ประกอบพิธีบูชายัญ จานวน ๒ คน
(๑๑) โหราจารย์ จำนวน ๑ คน
ยังมีตำแหน่งผู้ดูแล, ธุรการ และผู้ให้สถิติอีก หลายคน ซึ่งระบุจำนวนไว้ไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม จารึกปราสาท และจารึกสุรินทร์ ๒ ได้ระบุไว้ว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในโรงพยาบาลมีถึง ๙๘ คน
-สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล
เช่นเดียวกับจำนวนเจ้าหน้าที่ รายการจานวนสิ่ง ของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ได้รับมาไว้ใช้ในโรงพยาบาลนั้นมีจานวนไม่เท่ากันในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จำนวนที่กล่าวถึงในที่นี้จึงเป็นจานวนที่พอจะทราบโดยประมาณ บางรายการไม่ได้ระบุจำนวนไว้ก็มี
() ข้าวสาร ๑ โทรณะ1
() เครื่องพลีทาน
() เครื่องนุ่งห่มที่มีชายสีแดง ๑ ผืน
() เครื่องนุ่งห่มสีขาว ๒ คู่
() ผ้าสีขาว ๖ ผืน
() อาหารโค ๒ ปละ2
() กฤษณา ๓๙ ปละ3
() เทียนขี้ผึ้ง ๓๗ ปละ
() น้าผึ้ง ๒๔ ปรัสถะ4 (หรือ กุทุวะ5?)
(๑๐) น้ำมัน ๑๓ ปรัสถะ
(๑๑) เนยใส ๑๓ ปรัสถะ (หรือ กุทุวะ?)
(๑๒) บุนนาค6 ๒ บาท
............................................................
1 โทรณะ มาจาก โทฺรณ (ภาษาสันสกฤต) หมาย ถึง โทณะ, ทะนาน เครื่องตวงอย่างหนึ่ง
2 ปละ มาจาก ปล (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง
หน่วยวัดน้าหนัก เท่ากับ ๔ กรฺษ
3 กฤษณา คือ ส่วนของไม้ซึ่งมีสีดา กลิ่นหอม ใช้ทายาได้
4 ปรัสถะ มาจาก ปฺรสฺถ (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง หน่วยวัดปริมาณ, ความจุ
5 กุทุวะ ไม่ทราบความหมาย แต่คาดว่าน่าจะเป็นหน่วยวัดอีกประเภทหนึ่ง
6 บุนนาค เป็นชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภี แต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทายาได้
7 มหาหิงคุ์ เป็นยางของต้นไม้ล้มลุกหลายชนิด มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก
8 สรปะ มาจาก สรฺษป (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง หน่วยวัดที่ใช้กับวัตถุที่เบาที่สุด
9 ดีปลี ชื่อไม้เถา มีรากตามข้อของลาต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดยเฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้เป็นเครื่องเทศและทายาได้
10 ชะเอม แก้วคล้าย : ไม่ทราบความหมายภาษาไทย จึงขอแปลทับศัพท์ ตามรูปศัพท์ "มิตรเทวะ" แปลว่า เทวดาผู้เป็นมิตร แต่ในที่นี้ น่าจะเป็นชื่อเครื่องยาโบราณ จึงไม่ทราบความหมาย
(๑๓) จันทน์เทศ ๒๓ ผล
(๑๔) เกลือ ๑ บาท
(๑๕) ผลกระวานเล็ก ๑ บาท
(๑๖) กายาน ๑ บาท
(๑๗) มหาหิงคุ์7 ๑ บาท
(๑๘) น้าตาลกรวด ๒ ปละ
(๑๙) เหลือบ ๓๕ ตัว
(๒๐) ไม้จันทน์
(๒๑) ยางสนข้น
(๒๒) ดอกไม้ ๑๐๐ ดอก
(๒๓) พริกขี้หนู ๒๓ กุทุวะ
(๒๔) พริกไทย ๒ ปรัสถะ (หรือ สรปะ8?)
(๒๕) พริกไทย ๑.๕ กามือ
(๒๖) น้ากระเทียม ๑ ปละ
(๒๗) เปลือกกระเทียม ๑ ปละ
(๒๘) ดีปลี9ผง ๑๒ บาท
(๒๙) มิตรเทวะ10 ๓ บาท
(๓๐) ใบไม้ ๔๐ ใบ
(๓๑) กิ่งไม้ ๒๘ กิ่ง
(๓๒) ผักทอดยอด ๒ สรปะ
(๓๓) ถั่วฝักยาว ๒ สรปะ
11 ชะเอม แก้วคล้าย : ไม่ทราบความหมายภาษาไทย จึงขอแปลทับศัพท์ ตามรูปศัพท์ "ทารวเฉท" แปลว่า เครื่องตัดไม้ หรือมีดตัดไม้
(๓๔) เทียนไข ๕ ปละ
(๓๕) ขี้ผึ้ง
(๓๖) น้าพุทรา ๑ ปรัสถะ
(๓๗) พุทรา ๑ ลูก
(๓๘) เมล็ดธานี
(๓๙) ผลตาลึง ๑.๕ ผล
(๔๐) ข้าวบาร์ลีย์ ๑ บาท
(๔๑) ผลกระวานใหญ่ ๒ สรปะ
(๔๑) ขิงแห้ง ๒ สรปะ
(๔๒) หญ้ากระด้าง ๑ กามือ
(๔๓) น้าดอกไม้ ๓ กุทุวะ
(๔๔) เปลือกไม้ ๓ ปละ
(๔๔) ภาชนะดีบุก ๙ ใบ
(๔๕) เครื่องแต่งตัวยาวเก้าคืบ ๑๕ คู่
(๔๖) เสื้อผ้ายาวสิบคืบ ๑๒ คู่
(๔๖) ผ้าลายดอก
(๔๗) เสื้อยาว ๓ ตัว
(๔๘) ทารวเฉท11

เอกสารอ้างอิง
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึก ด่านประคา.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑