วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาชาวนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจhttp://www.prachachat.net/

ภูมิปัญญาชาวนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน โครงการปั้นทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ ความสุขที่สัมผัสได้จริง...


ถ้าเป็นเมื่อก่อน บ้านหนองแต้ ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ไกลปืนเที่ยง แต่วันนี้ อาจไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว

...วันนี้ หมู่บ้านแห่งนี้ดูคึกคัก มีชีวิตชีวา และกำลังได้รับความสนใจ เมื่อกลายเป็นแหล่งกรณีศึกษา "ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท !"

โครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เป็นโครงการริเริ่มของภาคเอกชนอย่างหอการค้าไทย ที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ และรายได้ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ มีพื้นที่นำร่อง คือบ้านหนองแต้, บ้านบ่อ, บ้านกุดเชียงมี ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

"ดุสิต นนทะนาคร" ประธานหอการค้าไทย เผยว่า หอการค้าไทยริเริ่มโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เพื่อต้องการช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จังหวัดที่เลือกเป็นโครงการนำร่อง คือ จ.ขอนแก่น โดยผลักดันให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทำเกษตรแบบ ผสนผสาน ทำนา ปลูกพืชเสริม และเลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้

"หากสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ผมเชื่อว่าจะช่วยลดความแตกแยกในสังคมไทยด้วย ชาวบ้านต้องขยันขึ้น เหนื่อยขึ้น แต่ก็มีความสุขขึ้น เพราะทุกภาคส่วนจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการ"

1 ไร่ 1 แสน ฝันที่เป็นจริง

"สมัย สายอ่อนตา" ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.บ้านดง เล่าว่า แต่เดิม ชาวบ้านได้ยินโครงการแล้ว ไม่มีใครเชื่อแม้แต่คนเดียว หลังจากมีทีมงานวิจัยของ ม.หอการค้าไทยและคณะเข้ามาเก็บข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะแนวทางในหลักวิชาการให้เข้ากับกับภูมิปัญญาของชาวนา ชาวบ้านก็ค่อย ๆ เปลี่ยนทัศนคติไปจากเดิม

ว่า ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท สามารถทำได้จริง ๆ

ทั้งนี้ วิธีการทำนาของเกษตรกร ก็คือแบ่งแปลงนาขนาด 1 ไร่ ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรก คือ "คันนา" ขนาดความกว้าง 1.5 เมตร ไว้สำหรับปลูกพืชประกอบ เช่น พริก มะนาว มะรุม โดยพืชที่ปลูกบนคันนา จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร เหลือจากการขาย สามารถทำเป็นพืชสมุนไพร ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ส่วนที่สอง คือขุดร่องน้ำสำหรับทำประมง เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะกลายเป็นปุ๋ยแก่ข้าว ขณะที่ส่วนที่สาม คือพื้นที่สำหรับปลูกข้าว และส่วนที่สี่ คือพื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่ จะปล่อยเป็ดไปหากินตามแปลงนาได้

"สมัย" อธิบายว่า ชาวนาจะปรับสภาพดินโดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดมาเป็นพิเศษในห้องทดลอง แล้วทำระบบนิเวศน์ใหม่ให้เหมาะสมกับการเกิดแพลงตอนในนาข้าว ถ้าทำได้ จะทำให้เกิดสาหร่ายสีเขียวที่มีประโยชน์ในนาข้าวเป็นจำนวนมาก พวกสัตว์น้ำทั้งหลาย กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ หามาปล่อยให้มันกินกันเอง

และเมื่อให้ปุ๋ยกับต้นข้าว สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือจะมีแมลงปอมาวางไข่เป็นจำนวนมาก กลายเป็นกองทัพอากาศ ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ส่วนตามคันนา ก็ปลูกพืชที่สร้าง รายได้เสริม เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ มะเขือ หอมแดง หรือมะรุม และเลี้ยงสัตว์ประกอบ เช่น เลี้ยงเป็ดไข่ กบ เพื่อเสริมรายได้

เมื่อเข้าช่วงเก็บเกี่ยว พบว่าได้ข้าวติดรวงเป็นจำนวนมาก มากกว่านั้น ยังขายได้ทั้งพืชอื่น ๆ ที่ปลูกตามคันนาไว้ ขายปลา ขายหอย ขายปู ขายกุ้ง ส่วนข้าวที่ปลูก ขายเป็นข้าวหอมนิล กินแล้วมีสรรพคุณเป็นยา ช่วยต้านทานโรคได้สารพัด

ประยุกต์ภูมิปัญญาดั้งเดิม

"สมัย" เล่าต่อว่า ส่วนหนึ่งที่ชาวนาที่นี่ทำได้ เพราะผู้เข้าร่วมโครงการส่วนมากเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ เพราะส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ตำบลบ้านดง พวกเราใช้หลักนิเวศวิทยา ไม่มีการใช้สารเคมี กลับไปทำนาแบบดั้งเดิมเมื่อหลายร้อยปีก่อน และนำความรู้ที่แฝงในพระไตรปิฎกมาประยุกต์ใช้ คือเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง

ล่าสุด จากการประเมินผลการดำเนินงานของทีมงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า จากกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2553 ผลตอบรับจากเกษตรกรเป็นที่น่าพอใจ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ทั้งสิ้น 19 ราย มี 8 ราย ทำเต็มรูปแบบโครงการ และมีถึง 6 ราย มีรายรับรวมของผลผลิตโดยประมาณเกินกว่า 1 แสนบาท โดยเกษตรกร 6 รายนี้ยังมีรายได้เสริม นอกจากการทำนา คือการขายสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำถึงร้อยละ 76 ของรายได้รวม นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากพืชอีกร้อยละ 10

"สมัย" บอกว่า สิ่งที่ชาวนาตำบลบ้านดงได้เรียนรู้ คือพวกเราสามารถบริหารจัดการพื้นที่น้อย ๆ ให้มีประโยชน์ได้มากที่สุด เช่น ขุดคูลอกนา ปกติกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ถ้าทำนาอย่างเดียว รายได้จะไม่เกิน 2 พันบาท แต่ถ้าเลี้ยงปลาด้วย ก็จะมีรายได้ประมาณ 5,000-6,000 บาท สมมติปล่อยได้เป็นหมื่นตัว นับอัตราการตาย 30% ก็เหลือราว 7 พันตัว ถ้าคิดตัวละ 10 บาท มีรายได้ 7 หมื่นบาทแล้ว

ส่วนผัก เช่น พริก ปกติจะต้องหว่านกล้าก่อน แต่องค์ความรู้ใหม่ที่เราได้จากหอการค้า ก็คือเอาเมล็ดไปปลูกเลย ปลูกที่คันนา กลายเป็นรายได้เสริม จากการทำนา "สมัย" เล่าด้วยความภูมิใจว่า ในฐาะชาวนา สำหรับเขาแล้ว ยังไม่ได้กำเงินแสนหรอก แต่สิ่งที่เขาได้กลับคืนมา คือวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ความปรองดองในชุมชน ซึ่งไม่ต้องเสียเงิน งบประมาณ

"สำหรับผม ผมไม่ได้เอาเงินเป็นที่ตั้ง ทุกวันนี้ ผมทำ นาบุญ รักษาแม่ธรณีไว้ รักษาแม่โพสพไว้ ผมไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เกี่ยวข้าวเสร็จ ไม่เผาหญ้า ไม่เผาฟาง"

ต้องเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

เขาบอกว่า "...เราอาจจะเอาเงินเป็นเป้าหมายได้ แต่ไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง ก็เหมือนแข่งกีฬา เป้าหมายคือเหรียญทอง แต่กว่าจะได้มาด้วยเหรียญทอง ก็ต้อง ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ ทำ เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าคุณเอาเงินเป็นที่ตั้ง ทำทุกวิถีทางที่จะได้เงิน สิ่งที่จะหวนกลับมาหาคุณ คือนาบาป"

"ใครถามผมว่า ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท จริงหรือ ผมตอบว่า จริง (ครับ) แต่ถ้าถามว่า เห็นตัวเงินหรือยัง วันนี้เห็นแค่ 20% สำหรับผมเรียกโครงการนี้ว่า โครงการไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเราต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ว่า ทำแล้วจะได้เลย

สำหรับ "สมัย" เขาตัดสินใจลาออกจากราชการตำรวจ เมื่อ 10 ปีก่อน แล้วกลับมาทำนาที่บ้านเกิด ร่วมกับสมาชิกในหมู่บ้าน ก่อตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.บ้านดง เปลี่ยนแนวคิดการทำนาเสียใหม่ คือเลิกใช้ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลง หันเข้าหาเกษตรธรรมชาติ ปัจจุบัน "สมัย" มีความสุขและภาคภูมิใจกับอาชีพชาวนาที่เขารัก

ทุกวันนี้ "สมัย" สายอ่อนตา ผู้ชายธรรมดา ใส่เสื้อราคาถูก แห่งบ้านดง มีรายรับต่อเดือนเกือบ 3 หมื่นบาท เป็นรายรับจากข้าว 7 พันกว่าบาท รายรับจากการเลี้ยงสัตว์ 2 หมื่นบาท และรายรับจากการปลูกพืชอีกเกือบ 1 พันบาท จากที่เคยมีรายได้แค่หลักพันกว่าบาท จากการปลูกข้าวอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า สิ่งที่นอกเหนือจากเงิน คือ "...ผมได้ขวัญและกำลังใจคืนมา ผมทำนาบุญ ได้รักษาแม่ธรณีไว้ ได้รักษาแม่คงคา และที่ได้แน่นอน คือผมรักษาแม่โพสพ คือข้าว เอาไว้"

โดยเขาหวังว่า ในอนาคต สิ่งที่เขาลงมือปฏิบัติด้วยหยาดเหงื่อแรงงานจนเห็นผล จะเป็นแรงบันดาลใจให้แรงงานลูกหลานชาวนากลับบ้านมาทำนา

"ทุกวันนี้ ผมอบรมทายาทเกษตรกรทุกวัน ให้ลูกหลานเหล่านี้รู้ว่า พ่อแม่ทำไร่ทำนา มีความยากลำบากแค่ไหน กว่าจะได้เงินมา ให้เขาเรียนรู้ว่า การทำนาเป็นอย่างไร ผมจะดึงคนที่ได้รับใบลาออก จากบ้านกลับคืนสู่ท้องถิ่น ซึ่งก็คือใบปริญญา แต่เราก็ต้องสร้างความมั่นใจให้เขาว่าสามารถสร้างพื้นฐานให้เขา โดยใช้วิถีชุมชน วิถีชาวนาของเรานี่แหละ ซึ่งมันมากกว่าเงิน 1 แสนบาท"

มากกว่านั้น สิ่งที่ทำให้ "สมัย" ภาคภูมิใจในอาชีพชาวนา ก็คือ "...ทุกครั้งที่ลงนา ผมชอบยืนสงบ ๆ หลับตาอยู่กลางทุ่ง แต่พอลืมตาขึ้นมา เห็นชีวิตที่สว่าง มองเห็นงานที่ตัวเองจะทำในอนาคต เมื่อก่อน ทำนาไปเรื่อยเปื่อย แต่วันนี้ เป็นชาวนา มีเวลา มีข้าว มีความสุข ผมมองทิศทางเห็นหมดแล้วว่า ชีวิตผมจะไปทางไหน"

ด้าน "ชื่น คลังกลาง" คุณลุง วัย 60 ปี ชาวนาอีกคนที่เห็นผลเป็นรูปธรรม จากโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท มากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเมื่อประมาณการรายได้สุทธิแล้ว ลุงชื่นมีรายรับกว่า 230,000 บาท

ลุงชื่นเฉลยความสำเร็จเบื้องต้นว่า เมื่อครั้งได้ยินโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ผมอุทานว่า "จะได้ 1 แสนบาท จริงหรือ" ? ยิ่งได้ฟังหลักการต่าง ๆ เรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ลุงชื่นไม่เชื่อ...

แต่หลังจากเดินทางไปดูแปลงนาต้นแบบที่ จ.นครปฐม ของอาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์ และอาจารย์อดิศร พวงชมภู ลุงชื่นกลับมาบ้าน และเริ่มมีความคิดว่า จะต้องทำให้ได้บ้าง

ปั้นทายาทเกษตรกร

ที่สุดแล้ว ลุงชื่นจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากปรับพื้นที่แปลงนาตามรูปแบบของโครงการ เพาะกล้า โยนกล้า และปลาดุกลงไป 1 หมื่นกว่าตัว ใส่กบอีก 1 หมื่นตัว นอกจากนี้ ยังปลูกพริก หอมแดง ต้นหอม มะละกอ ฯลฯ

ลุงชื่นบอกว่า แรกทีเดียว เจออุปสรรคและปัญหา โดยเฉพาะเรื่องการนำน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะต้องใช้เครื่องสูบน้ำ และการรักษาพืชผลทางการเกษตรไม่ให้ถูกขโมย เพราะแปลงนาอยู่ไกลจากหมู่บ้าน

แต่ลุงชื่นยังไม่ท้อ เมื่อได้รับคำแนะนำจากอาจารย์กิตติ์ธเนศ และอาจารย์อดิศรให้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อสูบน้ำเข้าพื้นที่เกษตร และยังใช้เป็นแสงสว่างในการดูแล

"...ความรู้นี้ ทำให้ผมได้รู้จักการบริหารจัดการให้เป็นระบบมากขึ้นด้วย" ลุงชื่นบอก

ผลจากความขยัน ไม่ย่อท้อ และชอบเรื่องการเกษตรเป็นทุนเดิม 1 เดือนผ่านไป ลุงชื่นเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง ข้าวในนาลุงชื่นเริ่มงาม เพราะลุงชื่นขยันฉีดพ่นน้ำ กบและปลาในนาเริ่มตัวโต "...ตอนแรก ก็คิดว่าจะไปไม่ได้ แต่พอเริ่มทำ ก็รู้สึกว่ามันดี และคิดว่า ไร่ละ 1 แสนบาท น่าจะเป็นไปได้" ลุงชื่นกล่าวด้วยความพอใจ

"ที่น่าพอใจ เพราะเห็นผล (ครับ) ผมใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้ว ให้เกิดมูลค่าในพืชผลไม่ให้สูญเปล่า หลายคนถามว่า อยู่ร่วมกันได้อย่างไร ผมก็ตอบซื่อ ๆ ว่า ก็ต้องหาวิธีให้อยู่ด้วยกันให้ได้ เพราะในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"

ลุงชื่นตั้งใจว่า จะทำให้ลูกหลานเห็นว่าสามารถทำสำเร็จด้วยความจริง ให้เห็นผลในระยะยาว เพื่อลูกหลานชาวนาจะกลับมาเพิ่มขึ้น

"ผมว่า วันนี้ เราถึงจุดสูงสุดในการเป็นเกษตกร ผมภูมิใจมาก อยากจะบอกกับทายาทเกษตรกรว่า เรามาช่วยสร้างสรรค์ให้เกษตรกรยั่งยืนต่อไป ให้ชาวนายั่งยืนต่อไป" ลุงชื่น ชาวนา ผู้ยิ่งใหญ่ทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตาม "ลุงชื่น" เตือนว่า ที่ทุกคนเห็นว่าสำเร็จ น่าสนใจ มาศึกษาดูงาน ขอถ่ายรูป อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องง่าย เพราะกว่าจะถึงวันนี้ ต้องเรียนรู้ ตรากตรำลำบาก ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ฉะนั้น ต้องตั้งใจทำจริง ๆ เท่านั้น จึงจะเห็นผล

กรณีศึกษา "ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท" ถือเป็นโครงการเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ บนความรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังในระยะยาวว่า จะไม่เป็นแค่กระแส หรือเป็นไฟไหม้ฟางในที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่อง ที่ท้าทาย !

นี่คือการปฏิรูป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเครือข่ายชุมชนเขาทำอยู่แล้ว รัฐและเอกชนเข้าไปต่อยอด หรือส่งเสริมสนับสนุนในสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริง เกษตรกร-ชาวนา จะต้องยืนได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริงเสียที

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ซองยาต้องมีชื่อยา “กินยาไม่รู้ชื่อยา อันตรายกว่าที่คิด”

        การใช้ยาฟุ่มเฟือยและไม่เหมาะสม ถือเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยขณะนี้ แต่ละปียอดค่าใช้จ่ายการใช้ยาคนไทยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ  42.80 ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด  ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียงร้อยละ 10-20  เท่านั้น

       แม้ว่าประเทศไทยจะเข้าถึงยาได้สูงแต่ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยร้อยละ 18-30 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาอันเนื่องจากยา ทั้งที่สามารถป้องกันได้ ขณะที่สิทธิผู้บริโภคเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างมากช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการอย่างรอบด้าน ซึ่ง "ยา" ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น แต่ประชาชนยังรับรู้สิ่งที่ควรทราบน้อย เช่น ชื่อยา สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อระวัง เพราะไม่ว่าจะเป็นคลินิก ร้านขายยา หรือสถานพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ บนซองยาจะมีเพียงแค่ขนาด และวิธีใช้  แต่ไม่มีวิธีใช้  แต่ไม่มีชื่อยาในฉลากยา

       เครือข่ายเภสัช--ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน จึงร่วมกับเครือข่ายเภสัชกรชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จ.ลพบุรี เครือข่ายผู้บริโภคภาคภาคประชาชน จ.ลพบุรี และและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ริโภค จ.สมุทรสงคราม ภายใต้ายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างรสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระดม ระดมความคิดและร่วมหารือถึงประเด็นสิทธิที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบเมื่อได้รับยา เพื่อย้ำว่า "ซองยา ต้องมีชื่อยา"

       การไม่ทราบชื่อยา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ตามมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ยาซ้ำ เพราะเมื่อแพ้ยาสิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ยาดังกล่าวซ้ำ เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจอันตรายถึงชีวิต  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการได้ยาเกินขนาด  เพราะการรับยาจากคลินิกหรือร้านขายยาหลาย ๆ แห่ง หากไม่ทราบชื่อยาก็ทำให้จะเกิดโอกาสที่จะรับยาชนิดเดียวกันซ้ำ ทำให้เสี่ยงต่อการรับยาเกินขนาดได้ หรือทำให้ต้องใช้ยาที่แพงขึ้นเพราะไม่ทราบประวัติการใช้ยาที่ใช้มาก่อน   แล้วความสิ้นเปลืองก็จะตามมา เพราะผู้ป่วยบางราย เมื่อรับยาจากที่ใดแล้วอาการดีขึ้น ก็มักจะกลับไปรับยาซ้ำ หากมีการย้ายถิ่นฐานก็ไม่สามารถเปลี่ยนที่ซื้อยาได้ เพราะไม่ทราบชื่อยา ก็จำเป็นต้องกลับไปที่เดิมเพื่อให้ยาตัวเดิมที่ใช้แล้วมีอาการดีขึ้น

       ภก.เด่นชัย ดอกพอง เครือข่ายเภสัช-ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน อธิบายถึงผลการสำรวจ เรื่อง "การให้ข้อมูลยาของคลินิกและร้านขายยาแก่ผู้ป่วย จังหวัดศรีสะเกษ" เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้ข้อมูลยาของคลินิกแพทย์และร้านขายยา หลังทำการสำรวจ 20 แห่ง พบว่า คลินิก 8 แห่ง และร้านขายยา 10 แห่ง ไม่ให้ชื่อยาในฉลากยา โดยระบุเพียงขนาด และวิธีใช้เท่านั้น โดยมีคลินิกและร้านขายยาเพียงอย่างละ 1 แห่ง เท่านั้นที่ระบุชื่อยาในฉลากยา และส่วนใหญ่ก็มิได้ให้คำแนะนำผลข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์ ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวขณะใช้ยา

       "เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ จะพบว่า มีการใส่ชื่อยาสามัญ หรือชื่อทางการค้าเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากคลินิกหรือร้านขายยาจะทำ แต่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าไม่มีเวลาหรือยากที่จะปฏิบัติ ในอนาคตการแก้ปัญหานี้จะทำได้โดยทำให้เกิดสมุดบันทึกการรักษาการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย หรือสมาร์ทการ์ด ไม่ว่าจะรับยาจากไหน ก็ต้องมีประวัติบันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยทุกคน"
สิ่งที่ประชาชนควรได้รับจากคลินิกแพทย์และร้านขายยา เมื่อต้องรับยา เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คือ ชื่อยาเป็นภาษาไทยหรือชื่อภาษาอังกฤษ  เป็นชื่อสามัญทางยาหรือชื่อการค้า, ข้อบ่งใช้ของยาในแต่ละตัวว่ามีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร, ขนาดและวิธีใช้เพื่อบอกปริมาณยาที่ใช้  วิธีการบริหารยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี, ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา, ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในขณะใช้ยา และการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยา
       

       แน่นอนว่าถ้าปัญหาเหล่านี้มิได้รับการแก้ไข นอกจากผู้บริโภคจะต้องประสบกับภาวะเสี่ยงแล้ว ปัญหานี้จะยังไปถึงการเปลี่ยนยาบ่อย ๆ ใช้ยาซ้ำซ้อน กลายเป็นปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสม สุดท้ายปัญหาก็ตกไปเป็นของทุกคน คือ ภาระค่ายาที่สูงขึ้นในที่สุด

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยก “อนามัย” เป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” ทั่วประเทศจำนวน 9,810 แห่ง


โดย mootie | วันที่ 28 ตุลาคม 2552
          สถานพยาบาลที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของภาครัฐที่ให้การบริการประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ สถานีอนามัย แม้ว่าในเมืองจะรู้สึกห่างเหินกับสถานีอนามัย แต่ในระดับภูมิภาคแล้ว สถานีอนามัยเป็นมากกว่าสถานพยาบาล
          เพราะวันนี้สถานีอนามัยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศจำนวน 9,810 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 30,000 คน กำลังยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
          การปรับเปลี่ยนดังกล่าวถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญหน้าใหม่ของวงการสาธารณสุขไทย เนื่องจากที่ผ่านมางานซ่อมสุขภาพกับงานสร้างสุขภาพยังแยกส่วนกัน
          แต่ครั้งนี้ถือเป็นการผนึกกำลังด้านการซ่อมสุขภาพนำสร้างสุขภาพ โดยการยกระดับในครั้งนี้นอกจากเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสูญเสียเวลาของประชาชนที่ต้องมานั่งรอการตรวจรักษาโรคในโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงต้องเดินทางไกลแสนไกลเพื่อไปตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ในชั่วเวลาไม่ถึงอึดใจเท่านั้น
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอื่นๆ ให้ผูป่วยในพื้นที่ทุกแห่งในแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการทำงานเชิงรุกที่มีศูนย์รวมอยู่ในพื้นที่ และเน้นให้ประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพให้ประชาชนเข้ารับบริการในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น
          ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมี 3 ขนาด ตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ได้แก่ ขนาดเล็กดูและประชากรไม่เกิน 3,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 5 คน ขนาดกลางดูแลประชากรไม่เกิน 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 7 คน และขนาดใหญ่ดูแลประชากรมากกว่า 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 9-10
          เรื่องดังกล่าวนับว่าเป็นนโยบายทางการเมืองที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมเรื่องที่ต้องการผลักดันให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพและเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียน้อยที่สุด ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพ ให้สองด้านมาบรรจบเพื่อให้เกิดการบูรณาการ เกิดความเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
          โดยประชาคมที่ภาครัฐได้ผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมอีกคือ ได้จัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ของนโยบายไทยเข้มแข็งตั้งแต่ปี 2533-2555 ซึ่งจะมีงบประมาณ 86,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นงบประมาณที่ใช้ในการผลักดันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 14,973 ล้านบาท และยังมีงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อีก รวม 30,877 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท
          เปลี่ยนโฉมทั้งอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลที่ใช้ส่งต่อผู้ป่วย 1,000 คัน ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ้นทั้งหมด 1,001 แห่ง ครอบคลุมในทุกอำเภอที่มีอยู่ 800 กว่าแห่งทั่วประเทศ และภายใน 3 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ!!!
          แม้ว่าขณะนี้โครงการดังกล่าวในหลายพื้นที่ได้มีการนำร่องและไดผลเป็นอย่างดีสมกับที่หลายฝ่ายรอคอย                   "ก่อนหน้านี้ผมเคยเป็นผู้บริหารชุมชนและเริ่มป่วยเป็นอัมพฤกษ์จนเดินไม่ได้ แต่เมื่อได้รับการรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ทำงานเชิงรุก เข้าถึงประชาชนอย่างเต็มที่ ทำให้ขณะนี้หายดี" หนึ่งเสียงของผู้เข้ารับการรักษาจากโครงการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลจากโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายวิกฤษ กมลสาร ผู้พิการจากบ้านหนองเม็ก จ.กาฬสินธุ์
          ไม่เพียงแต่เขาเท่านั้นที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโคลงการจะช่วยให้เขาหายดีและมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้แล้ว ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ได้รับการช่วยเหลือนี้ เปลี่ยนชีวิตใหม่ เช่น จากเดิมที่ป่วยเป็นโรคหัวใจต้องใช้เงินและเวลาในการไปรักษาตัว แต่เมื่อมีการแพทย์เชิงรุกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนี้ก็ทำให้เพื่อนบ้านที่ป่วยโรคหัวใจคนนั้นกลับมาใช้ชีวิตปกติหายดีเหมือนเกิดใหม่
          "ผมในฐานะที่เป็นชาวบ้านและได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ผมอยากให้มีการกระจายโครงการอย่างทั่วถึง เพราะเป็นโครงการที่เข้าถึงความต้องการของชาวบ้านได้อย่างแท้จริงผมซึ่งเป็นผู้พิการก็ไดรับการดูแลอย่างดีจากโครงการนี้ ผมต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโครงการดีๆ และทำให้ผมมีกำลังใจในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น"
          ความในใจของนายวิกฤษ หนึ่งในผู้ที่มีชีวิตเกิดใหม่จากอานิสงส์ผลบุญของโครงกรรดีๆ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนี้ 
1 ตุลาคมนี้ ความหวังเล็กๆ ของผู้ป่วยไทยทุกคนจะมีความหวังขึ้นเช่นเดียวกับคุณวิกฤตอย่างแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ถ่ายทอด โดย
สร้อยสน ปานอนันต์
ความเป็นมา
                          จากการที่รัฐบาลปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ โดยถ้วนหน้า และได้ริเริ่มนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น
                         นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องสื่อสาร ทำความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการสอบถามปัญหาข้อข้องใจและข้อร้องเรียน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อน วิตกกังวลของผู้รับบริการ และยังเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการได้รับทราบข้อบกพร่องของการให้บริการ ซึ่งจะสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานอีกด้วย
                          กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้สถานบริการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น และมีการดำเนินงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ สำหรับในส่วนกลาง ได้จัดตั้งหน่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยใช้ชื่อ " ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ"   
วัตถุประสงค์ 
     1.   เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     2.   เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล ข่าวสาร แนะนำการให้บริการ ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
     3.     สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้
     ผู้รับบริการได้ รับบริการที่มีคุณภาพ และเกิดความพึงพอใจ 
พันธกิจ 
  • คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้รับบริการ
  • พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งเชิงรุกและ   เชิงรับ 
บทบาทหน้าที่              
1.  รับเรื่องร้องทุกข์ ชี้แจงตอบข้อข้องใจ บรรเทาความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ รวมทั้งการติดตามปัญหาให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
2.  ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ โดยจัดให้มีระบบการตอบกลับ หรือแจ้งความคืบหน้าทุกราย
3.  รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า 
4.  ประสานงานระหว่างผู้รับบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
5.  ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้รับบริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
6.      สรุป รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอต่อคณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไข และปรับปรุงระบบการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า


          ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรากำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย

          ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย  มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น

1.    ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน
       ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการ
       ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
 2.   ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
3.   ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ
      พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ  ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มะเร็งปากมดลูก

ถ่ายทอดโดย
สร้อยสน ปานอนันต์

สถานีอนามับโคกพนมดีดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและสามารถคัดกรองผู้ป่วยเพื่อส่งรักษาพยาบาลตามกระบวนการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง  ในที่นี้ขออนุญาตนำบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการคัดกรองผู้ป่วยข้างต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารหมอชาวบ้านกับเว็บไซต์วิชาการดอทคอมwww.doctor.or.th

          ในปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิงไทย และ มีปัญหาในด้านการรักษามากทั้งๆ ที่มะเร็งชนิดนี้ สามารถตรวจพบในระยะแรกเริ่มด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก และสามารถรักษาให้หายขาด….โรคนี้เป็นอย่างไร ขอเชิญอ่านรายละเอียดได้จากบทสนทนากับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ คือ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงวิไล เบญจกาญจน์ หัวหน้าภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ แห่งภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


*ใครบ้างที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูก
         แปลก มากที่โรคนี้มันเกี่ยวข้องกับเศรษฐฐานะ คนยิ่งจนยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือเป็นมะเร็งของคนจน เพราะคนจนส่วนมากจะมีลูกมากแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย หรืออาจมีสามีหลายคน         โรคนี้เกี่ยวกับความสำส่อนทางเพศมากที่สุด หญิงที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยหรือเปลี่ยนคู่บ่อย จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มาก บางคนจึงว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นกามโรคชนิดหนึ่งด้วยคือ ถ้าไม่มีการร่วมเพศ ก็ไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก
*ถ้าเช่นนั้น หญิงโสเภณีหรือหญิงบริการก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้หญิงทั่วไปน่ะซิครับ

         ครับ ข้อนี้มีการบันทึกอยู่ในตำราแพทย์อย่างแน่ชัดแล้ว
*แล้วหญิงที่มีลูกมากล่ะ

         ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าหญิงที่มีลูกน้อย
* หญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นโรคนี้ได้หรือไม่

         เป็นได้ แต่เป็นอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบน้อยและไม่เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศปกติ มะเร็งปากมดลูกมี 2 ชนิด ชนิดที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปและพบบ่อยที่สุดนั้นเกี่ยวกันกับความสำส่อนทาง เพศมากเป็นชนิดที่เรากำลังพูดคุยกันนี่แหละครับ
* ว่ากันว่า คนอิสลามที่ผู้ชายนิยมขริบปลายอวัยวะเพศตามประเพณีนั้น ผู้หญิงเขาเป็นโรคนี้กันน้อย จริงไหม

         จริง แต่บางคนก็ไม่เชื่อว่าเป็นเพราะการขลิบแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุจากข้อห้ามทางศาสนาเขาที่ห้ามไม่ให้มีการสำส่อนทางเพศ และห้ามมิให้มีการร่วมเพศระหว่างที่ตั้งท้องและหลังคลอด
* ช่วงอายุเท่าไรเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากที่สุด

         พบบ่อยที่สุดก็ในช่วงอายุ 40-60 ปี คือในระยะใกล้วัยหมดประจำเดือนและระยะหลังวัยหมดประจำเดือนใหม่ๆ อายุ ที่น้อยที่สุดที่พบ ถ้าเป็นชนิดที่ลุกลามมีอาการแล้วคืออายุ 20 ปี ถ้าชนิดระยะแรกเริ่มที่ยังไม่มีอาการก็อายุ 18-19 ปี แต่ก็พบได้ไม่บ่อยนัก


*สาเหตุเกิดจากอะไร
         ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากเรื่องเพศสัมพันธ์ คือมีความสัมพันธ์ทางเพศจักเกินไป หรือมีลูกมาก

* เป็นกรรมพันธุ์หรือเป็นโรคติดต่อหรือไม่
         โรคนี้ยังไม่ยืืนยันว่าเป็นกรรมพันธุ์ และไม่มีการติดต่อไปยังคนอื่น เหมือนโรคติดต่ออื่นๆ
*จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก

         ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มที่ยังไม่ลุกลามออกไป ที่หมอเรียกว่ามะเร็งระยะแรกเริ่ม (Carcinoma in situ)นั้น คนไข้จะไม่มีอาการอะไรเลยทั้งสิ้น ตรวจพบโดยวิธีตรวจช่องคลอดหามะเร็งระยะแรกเริ่มที่เรียกกันว่า การตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap smear)
         ส่วน อาการแรกๆ ที่ชาวบ้านสังเกตได้เองซึ่งเป็นอาการของระยะลุกลามก็คือ อาการตกขาวหรือการมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังร่วมเพศใหม่ๆ หรืมีเลือดออกกกะปริดกะปรอย


*ตกขาวในโรคมะเร็งแยกจากตกขาวปกติอย่างไร
         ตกขาวปกตินั้น ไม่มีอาการออกเล็กน้อย ไม่ถึงกับต้องใช้ผ้าอนามัยและถึงกับเปรอะเปื้อนมักไม่คัน ไม่มีกลิ่นและมีสีขาวใสๆ   แต่ ถ้าตกขาวเป็นสีช้ำเลือดช้ำหนอง มีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการแสบขัดปวดก็ถือว่าเป็นตกขาวผิดปกติ อาจเป็นมะเร็งหรือเป็นจากสาเหตุอื่นก็ได้ ควรไปหาหมอ
         มะเร็ง ปากมดลูกเริ่มแรกมีเลือดออกหลังร่วมเพศ หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ต่อไปเมื่อเป็นมากขึ้นก็มีอาการอักเสบแทรกซ้อน ทำให้มีตกขาวออกมาเรื่อยๆ ตกขาวเหมือนเป็นหนองสีเหลืองและมีเลือดปน กินยาใช้ยาอะไรก็ไม่ดีขึ้น มีกลิ่นเหม็นจัด จนคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็ได้กลิ่นด้วย


* อาการอื่นๆ ของโรคนี้
           ได้แก่ ตกเลือด บางคนไปหาหมอเมื่อมีอาการตกเลือดมากจนเป็นลมช็อคหรือถ้าเป็นในระยะท้ายๆก็ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้ำหนักลด ไม่มีแรง บวม หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเกือบเป็นระยะสุดท้ายแล้ว   จึงอยากย้ำว่า สิ่งใดที่ผิดไปจากที่เราเคยมีอยู่เป็นประจำแล้วละก้อ อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะโรคนี้เป็นระยะแรกๆ ก่อนมีอาการและรีบรักษาก็มีโอกาสหายได้
* จะตรวจรู้ก่อนมีอาการได้อย่างไร

         มีอยู่ทางเดียวคือ หาหมอให้ช่วยตรวจช่องคลอดเพื่อค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่ม ที่เรียกว่า การตรวจแป๊ปสเมียร์
         ได้มีการศึกษากันแล้ว พบว่ามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (คือก่อนมีอาการ) กว่าจะกลายเป็นระยะลุกลามจนมีอาการ แล้วนั้นใช้เวลาถึง 5-15 ปี ไม่ได้ลามปุบปับเหมือนไฟลามทุ่ง คิดๆ ดูแล้วผู้หญิงเรามีเวลา 5-15 ปีสำหรับตรวจโรคนี้และรักษาให้หายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ป่วยส่วนมากพลาดโอกาสที่มาตรวจและรักษาแต่เนิ่นๆ         ผู้ป่วยส่วนมากจะมาหาหมอเมื่อมีอาการตกขาวและตกเลือดจนนอง ซึ่งเป็นระยะที่ลุกลามแล้ว
* ควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกทุกคนไหม

          อัน ที่จริงผู้หญิงทุกคนควรจะได้รับการตรวจเมื่อมีความสัมพันธ์ทางเพศแล้ว แต่เราจะรณรงค์ให้ผู้หญิงกว่า 10 ล้านคนขึ้น ไปมาตรวจนั้น รัฐคงไม่มีทางที่จะบริการได้ ดังนั้นจึงขอพูดว่า บุคคลที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจดี กว่าคือ พวกที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูง เช่นพวกที่มีความสัมพันธ์ทางเพศตั้งแต่อายุยังน้อย พวกที่มีลูก 2-3 คนขึ้นไป พวกที่มีความสำส่อนทางเพศ พวกที่มีอาชีพเป็นหญิงบริการ พวกที่มีการอักเสบของปากมดลูกตกขาว เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
* ควรตรวจทุกปีไหม

         สมัยก่อนแนะนำให้ตรวจทุกปี แต่เดี๋ยวนี้แม้แต่ในต่างประเทศก็เห็นแล้วว่าอาจไม่ตรวจทุกปี นอกจากพวกที่มีอัตราเสี่ยงสูง   พวกที่ไม่เสี่ยงมากหรือพวกที่เสี่ยงมากที่คิดว่าดีพอแล้วคือ ตรวจ 2 ปีติดกัน (ปีละครั้ง) แล้วเป็นปกติดีก็เว้นไปเป็น 3-4 ปีตรวจครั้งก็ได้
* การรักษามีกี่วิธี

         มี 2 วิธีคือ การผ่าตัด กับ การใช้รังสีรักษา (ฝังแร่กับฉายแสง)         จะมีวิธีไหน ขึ้นกับระยะของโรค         ถ้าเป็น ระยะ 0 คือระยะแรกเริ่มก่อนมีอาการใช้วิธีผ่าตัดเพียงอย่างเดียว สามารถหายขาดได้เกือบร้อยละ 100         ถ้าเป็น ระยะที่ 1 ใช้การผ่าตัดหรือฝังแร่และฉายแสง         ถ้าเป็น ระยะที่ 2, 3 และ 4 ใช้วิธีฉายแสง แล้วตามด้วยการฝังแร่
* โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดไหม

         หายขาดได้ ชาวบ้านหรือแม้แต่หมอเราส่วนใหญ่ คิดว่าการเป็นมะเร็งก็คือความตาย
         แต่ความจริงทุกระยะมีโอกาสหายขาดได้ และถึงแม้ไม่หายขาดการรักษาก็ช่วยลดความทุกข์ทรมาน ย่อมมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแน่นอน
* วิธีป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งนี้ล่ะครับ

         ตามที่ได้บอกไว้แล้วว่า เรายังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด เพียงแต่ยอมรับว่าความสัมพันธ์ทางเพศมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก   ดังนั้น ถ้าจะบอกว่าการป้องกันที่ดีที่สุดคือ ถือศีลแบบพระห้ามมีเพศสัมพันธ์ดังนี้ก็คงจะขัดกับธรรมชาติของคนเราเป็นแน่
เพราะฉะนั้น การตรวจแป๊ปสเมียร์ ก่อนมีอาการจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เกี่ียวกับการรักษามะเร็งปากมดลูก

* ปัญหาที่แพทย์ปวดขมอง

           เนื่อง จากคนไข้ส่วนมากตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 2 ขึ้นไปต้องรักษาด้วยการฝังแร่และตามด้วยการฉายแสง การฉายแสงทำได้เพียงไม่กี่แห่ง (ในต่างจังหวัดมีที่เชียงใหม่เพียงแห่งเดียว)
          คนไข้ที่เป็นกันส่วนใหญ่เป็นคนจนๆ และอยู่นอกกรุงเทพฯ จึงมีความยากลำบากในการเดินทางมารักษาที่กรุงเทพฯ   พบว่าคนไข้ที่มารักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 100 คนมีถึง 30 คนที่มีปัญหาในการรักษา        ใน 30 คนนี้ 20 คนปฏิเสธการรักษาเพราะความยากจน ไม่มีที่พักและเพราะว่ามีความเชื่อผิดๆ หันไปหาเกจิอาจารย์ต่างๆ กินยาหม้อ ยาโบราณรดน้ำมนต์
         อีก 10 คน ฉายแสงได้ 1-2 อาทิตย์ (ปกติต้องฉายนาน 4-5 อาทิตย์) เลือดหยุดก็นึกว่าหายแล้ว บางคนที่กลัวมากกินยาหม้อร่วมด้วยก็เลยนึกว่าหายจากยาหม้อเสียฉิบ ก็เลยไม่ได้รับการฉายแสงให้ได้ครบถ้วนตามกระบวนการ ซึ่งทำให้โอกาสที่จะหายขาดนั้นลดน้อยลงไป เมื่อเริ่มการรักษาใหม่
* กินยาหม้อได้ผลจริงไหม

         เห็น จะพูดยาก เพราะตัวมะเร็งนั้นมีการเจริญช้าเร็วไม่เหมือนกันในแต่ละคน ถ้าเป็นชนิดลุกลามช้าๆ แล้วไปกินยาหม้อเข้าโรคไม่ทรุดหนัก ก็ดูเหมือนว่าพวกนี้มีชีวิตอยู่ได้นาน นึกว่ายาหม้อได้ผล ความจริงโรคยังเป็นอยู่และจะค่อยๆ ลุกลามจนเป็นอันตรายได้ ถ้าจะพิสูจน์กันจริงๆ ก็ควรมีการวิจัยโดยแพทย์แล้วรวบรวมสถิติกันดูว่าหายจริงหรือไม่
* มียาชนิดกินไหม

         ยังไม่มียากินที่ได้ผล การรักษาจึงมีแต่การผ่าตัดกับกาฉายแสงเท่านั้น
* ว่ากันว่าฉายแสงทรมานจริงไหม

        การรักษาด้วยรังสีมี 2 แบบ คือ การฝังแร่กับการฉายแสง
        การฝังแร่ นอนในห้องฝังแร่นานแค่ 48 ชั่วโมงเท่านั้น
        การ ฉายแสง อาจทำให้ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องเสีย อาจเป็นหลังฉายแสง 2 ปีไปแล้วก็ได้ ถือว่าเป็นโรคแทรกของการฉายแสง แต่ก็คุ้มกับการยืดชีวิตให้ยืนยาวออกไป          คนไข้บางคนเลยไปบอกเล่าให้คนอื่นๆ ว่าแพ้แสง ทำให้เกิดการเข้าใจผิดนึกว่า การฉายแสงทำให้ผิวดำเกรียมยังกับเอาไฟมาไหม้จะเจ็บปวด ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากกลัวการฉายแสง จริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น การ ฉายแสงมีความสะดวกสบาย ปกติฉายเพียงวันละ 5-15 นาที นอนเฉยๆ ไม่เจ็บปวดแต่อย่างไร ฉายเสร็จก็กลับบ้านได้ ไม่ต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลแต่ต้องเสียเวลาเทียวไปเทียวมาทุกวัน
* ค่ารักษาแพงไหม
          ถ้า รักษาโรงพยาบาลของรัฐ คนที่ไม่มีสตางค์ ทางโรงพยาบาลมีแผนกประชาสงเคราะห์ก็รักษาให้ฟรีๆ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด หรือฉายแสงก็ได้ทั้งนั้น
* มีของแสลงไหม

         อาหารที่กินแล้วทำให้มะเร็งงอกขึ้นนั้นไม่มีแน่  แต่ระหว่างรักษา ควรกินอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่) และพวกวิตามิน ให้มากๆ เพื่อบำรุงให้ร่างกายทนต่อการรักษา ใน 1-2 อาทิตย์แรกที่ฉายแสงไม่ควรกินอาหารที่ย่อยยากหรือรสจัด อาจทำให้มวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เลยพาลนึกว่าแพ้แสง แล้วเลิกรากันไปกลางคัน ควรกินอาหารที่มีรสอ่อนไม่ให้มวนท้อง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สระแก้ว 1

โดย
สร้อยสน ปานอนันต์

สระแก้ว 2

โดย
สร้อยสน ปานอนันต์

สระแก้ว1

สระมรกต 2 : แหล่งท่องเที่ยวทางด้านโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยโคกพนมดี ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

โดย
สร้อยสน ปานอนันต์

สระมรกต: แหล่งท่องเที่ยวทางด้านโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยโคกพนมดี ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี


โดย
สร้อยสน ปานอนันต์

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายเว็บไซต์ที่น่าสนใจที่ถาม-ตอบปัญหาเกี่ยวกับสมุนไพรไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.medplant.mahidol.ac.th/user/qa.asp
คำถาม : สมุนไพรรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
คำตอบ : สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และมีรายงานการทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน มีอยู่หลายชนิดเช่น มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ ลูกซัด อบเชย โสม อินทนิลน้ำ เป็นต้น โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับผงแห้งจากผลมะระ ขนาด 5 ก. จำนวน 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 21 วัน ระดับน้ำตาลจะลดลง 25% จากค่าเริ่มต้น แต่ยังให้ผลที่ไม่ชัดเจน ในขณะที่สารสกัดน้ำจะให้ผลที่ดีกว่า สารสกัดน้ำต้มจากผลเมื่อรับประทานขนาด 500 มก./คน มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในผู้ป่วยได้ และการศึกษาย้อนหลังการใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งได้รับมะระขี้นกขนาด 800 - 1,600 มก./วัน ร่วมกับยาเบา- หวาน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และมีผลข้างเคียงเล็ดน้อยคือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
               สมุนไพรที่มีรายงานวิจัยว่าสามารถลดความดันโลหิตในทางคลินิกได้ผล ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง กระเทียม ทับทิม งา ฝรั่ง ดอกคำฝอย และขึ้นฉ่าย จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1 (ค่าความดัน 140 - 159/90 - 99 มม.ปรอท) ถึงขั้นที่ 2 (ค่าความดัน 160 - 179/100 - 109 มม.ปรอท) อายุ 30 - 80 ปี ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างน้อย 1 เดือน เมื่อให้ดื่มชาจากผงดอกกระเจี๊ยบแดง 10 ก. ชงในน้ำเดือด 500 มล. และแช่ไว้นาน 10 นาที ดื่มวันละ 1 ครั้ง ช่วงก่อนรับประทานอาหารเช้าทุกวัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดลง และมีผลเทียบเท่ากับผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน และการทดลองให้ผู้ป่วยรับประทานกระเจี๊ยบแดงในรูปของสารสกัด anthocyanin จากส่วนของกลีบเลี้ยงขนาด 250 มก./วัน ก็พบว่าสามารถลดความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้
               
คำถาม : มะเร็งเต้านมกับการใช้ยาว่านชักมดลูก111ตราหมอเส็ง
คำตอบ : ยังไม่มีรายงานการวิจัยว่าว่านชักมดลูกช่วยกระตุ้นหรือยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งมดลูกในคน พบแต่รายงานว่าสาร Xanthorrhizol ที่สกัดได้จากว่านชักมดลูกสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลองได้ (พบ 1 ฉบับ) แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่านชักมดลูกมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อได้รับฮอร์โมนมากเกินไปอาจจะมีผลไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกให้โตขึ้นได้ ข้อควรระวังเมื่อรับประทานว่านชักมดลูกติดต่อกันเป็นเวลานานหรือรับประทานเกินขนาด อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากว่านชักมดลูกมีฤทธิ์กระตุ้นทางเดินน้ำดีได้

คำถาม : สมุนไพรไทยที่ใช้รักษาเยื่อบุช่องปากอักเสบ
  • ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถนำไปใช้รักษาภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการฉายแสง
  • จากคุณ : pimolala
  • Date : 14/1/2554 15:47:00
คำตอบ : มีการศึกษาประสิทธิผลของกลีเซอรีนพญายอในการป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ในคลินิกเคมีบำบัด ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสั้น 2 แห่ง ของหน่วยผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2548 กลุ่ม ตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 65 ราย โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะเป็นกลุ่มควบคุมในตนเอง จัดให้ผู้ป่วยเข้าระยะทดลอง หรือระยะควบคุมก่อนโดยการสุ่มให้มีจำนวนเท่าๆกัน เมื่อได้รับเคมีบำบัดชุดต่อไปจัดให้อยู่ในระยะควบคุมหรือทดลองสลับกับชุดแรก ระยะทดลองใช้ กลีเซอรีนพญายอ และระยะควบคุมใช้สิ่งทดลองปลอมเป็นกลีเซอรีนบอแรกซ์ หยดน้ำยาในช่องปาก หรือ บริเวณที่เกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบครั้งละ 2 หยด วันละ 5 ครั้ง เริ่มต้นภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเคมี บำบัดครบแล้ว 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยบันทึกภาวะเยื่อบุช่องปากด้วยตนเองทุกวัน โดยใช้แบบบันทึกรายการ ของอาการในช่องปากที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำแนกระดับเยื่อบุช่องปากอักเสบตามเกณฑ์ขององค์การอนามัย โลก ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้กลีเซอรีนพญายอหยดในช่องปากภายหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด มีอุบัติการณ์ (7.69%) จำนวนวันที่เป็น (2.40±0.55) และคะแนนความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปาก อักเสบ(1.00±0) น้อยกว่าระยะควบคุม(90.77%, 5.80±1.09, 1.29±0.47 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) รวมทั้งเริ่มเกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบช้ากว่าในระยะควบคุม (8.37±2.10 และ 3.12±0.49) อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผู้ป่วยที่ใช้กลีเซอรีนพญายอส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้มาก กลีเซอรีนพญายอเป็นสมุนไพรไทยที่มีราคาไม่แพง และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ
               นอกจากนี้พบว่าเจลใบบัวบกมีฤทธิ์ช่วยในการยึดติดของเยื่อบุเมือกในช่องปากโดยเมื่อทดลองนำเจลบักบกมาเปรียบเทียบกับยาหลอกในกลุ่มอาสาสมัคร 100 คน โดยให้อาสาสมัครทายา 3 ครั้ง คือ หลังอาหารเช้า เย็น ก่อนนอน แล้ววัดขนาดของแผลเป็นมิลลิเมตร ในความแรง 0.5, 1 และ 2% ซึ่งผลการทดลองพบว่าเจลบัวบกทำให้ขนาดของแผลลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยยิ่งมีสารสกัดของใบบัวบกมากขึ้น ก็จะทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ทำให้อาการปวดแผลหายเร็วขึ้น

คำถาม : ชลอการหงอกก่อนวัยได้อย่างไร
คำตอบ : การรับประทานอาหารซึ่งมีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะ จะช่วยชะลอการหงอกของผมได้ เช่น
               -ทองแดง พบมากในถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา เมล็ดทานตะวัน ลูกเกด ลูกพลับ กล้วยตาก แครอท หัวไชเท้า เผือก มัน ผลไม้สดทุกชนิด
-ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเลทุกชนิด และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือไอโอดีน
-เหล็ก มีมากในปลา ลูกเกด ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักพื้นบ้าน เช่น มะเขือพวง ใบชะพลู ผักโขมหนาม และผักกูด
-กรดโฟลิก พบมากในถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักบุ้ง กวางตุ้ง แครอท ฟักทอง ไข่แดง และตับ
-กรดแพนโทเทนิก หรือวิตามินบี 5 พบมากในข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด แอ๊ปเปิ้ล
-พาบา อยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินเทียมที่ละลายในน้ำ พบมากในจมูกข้าวสาลี ข้าวกล้อง โยเกิร์ต และผักใบเขียว
-ไบโอติน เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีคอมเพล็กซ์ พบมากในอาหารจำพวกถั่วเหลือง และซีเรียล
               สำหรับสมุนไพรช่วยชะลอผมหงอกที่มีการใช้ภายนอก เช่น น้ำคั้นใบย่านาง วุ้นว่านหางจระเข้ น้ำคั้นบัวบก และกะเม็ง เป็นต้น

คำถาม : สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด
  • ขอทราบข้อมูลการลดน้ำตาลในเลือดของสิงหโมราและฮว่านง็อก และมีสมุนไพรใดที่มีข้อมูลสนับสนุนเรื่องการลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานบ้างค่ะ ขอบคุณคะ
คำตอบ : ยังไม่รายงานว่าต้นสิงหโมราและฮว่านง๊อกมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทั้งทางคลินิกและในสัตว์ทดลอง ส่วนสมุนไพรที่มีรายงานว่าสามารถลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้และมีการทดสอบทางคลินิกว่าได้ผลดี เช่น มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ กระเทียมและอบเชย เป็นต้น

มะรุม
  • มะรุมพืชสมุนไพรใช้หมักทำน้ำเอนไซน์มะรุมได้หรือไม่ มีสรรพคุณหรือโทษอย่างไร
คำตอบ : ทางสำนักงานยังไม่มีรายงานการวิจัยว่าน้ำหมักเอนไซม์มะรุมมีสรรพคุณหรือโทษอย่างไรค่ะ โดยปกติแล้วพืชที่นิยมนำไปทำน้ำหมักเอนไซม์มักเป็นผลไม้หรือพืชที่มีน้ำตาลสูง แต่ผลมะรุมนั้นประกอบด้วยไฟเบอร์อยู่เป็นจำนวนมาก จึงไม่ทราบว่าสามารถนำไปหมักทำน้ำเอนไซม์แล้วจะได้ผลดีหรือไม่

คำถาม : ข้อมูลการใช้สมุนไพร 6 ชนิด ในผู้หญิงหลังคลอด
  • เนื่องจากตอนนี้ที่โรงพยาบาลได้มีโครงการดูแลผู้ป่วยหลังคลอดและมีการต้มนำสมุนไพรให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อกระตุ้นน้ำนม ประกอบด้วย ฝางแดง ย่านางแดง ว่านชักมดลูก กำลังเสือโคร่ง นมราชสีห์ ข้าวเย็นเหนือ สูติแพทย์อยากทราบข้อมูลการใช้และความปลอดภัยของสมุนไพรดังกล่าว ขอความกรุณาขอข้อมูลจากอาจารย์ด้วยค่ะ
คำตอบ : จากการสืบค้นข้อมูลที่ที่สำนักงานมี ไม่พบฤทธิ์ในการกระตุ้นน้ำนมของสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด ค่ะ ส่วนรายงานความเป็นพิษมีดังต่อไปนี้

ฝางแดง (Caesalpinia sappan )
- การศึกษาความเป็นพิษของฝางแดงพบว่า การฉีดสารสกัดจากลำต้นด้วย 50% ethanol เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตาย 50% คือ 750 มก./กก.

ย่านางแดง หรือ หญ้านางแดง (Bauhinia strychnifolia  Craib)
- ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษ

ว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhiza  Roxb.)
- การศึกษาความเป็นพิษของว่านชักมดลูกพบว่า การฉีดสารสกัดเหง้าพืชด้วย ethyl acetate เข้าทางช่องท้องและการป้อนให้หนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตาย 50% คือ 5.2 และ 12 ก./กก. ตามลำดับ ส่วนสารสกัดเหง้าพืชด้วย ethanol:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรขนาดที่ทำให้หนูตาย 50% คือ 250 มก./กก.

กำลังเสือโคร่งมี 2 ชนิด คือ
1. กำลังเสือโคร่ง (Ziziphus attopensis  Pierre) วงศ์ RHAMNACEAE
2. กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides  Buch-Ham.) วงศ์ CUPULIFERAE
ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษ

นมราชสีห์ (Euphorbia hirta  L.)
- การศึกษาความเป็นพิษของนมราชสีห์พบว่าสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดิน เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตาย 50% คือ 7.4 มล./กก.

ข้าวเย็นเหนือ (Smilax corbularia  Kunth)
- ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษ