วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

มะขามเทศ

"มะขามเทศ"
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/13624
           "มะขามเทศ" นั้นเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ จัดเป็นพืชตระกูลมะขามอีกหนึ่งชนิดที่กินอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนที่เรานำมากินกันนั้นก็คือผลของมัน ที่อยู่ในฝักโค้งเป็นวงกลม รสชาติของมะขามเทศจะออกหวานมัน ผสมรสฝาดนิดๆ กินอร่อยชุ่มคอ และยังมีประโยชน์ตรงที่เป็นผลไม้ไทยที่มีวิตามินอีสูงเป็นอันดับสองรองจากขนุนหนัง และให้วิตามินซีสูงเป็นอันดับสี่ รองจากฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เมล็ด และมะขามป้อม ทั้งยังมีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็กช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ทั้งยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้ขับถ่ายคล่อง ไม่เป็นโรคท้องผูกอีกด้วย

           นอกจากนั้นแล้ว มะขามเทศยังถือเป็นพืชสมุนไพร คนโบราณมักนำเอาเปลือกมาต้มกับเกลือป่นแก้โรคปากเปื่อย ส่วนเปลือกต้นใช้ต้มน้ำเคี่ยวรวมกับเปลือกข่อยและเกลือแกง ใช้อมแก้ปวดฟัน เปลือกใช้ทำยาย้อมผม และยาสระผมได้อีกด้วย

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การดูแลผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ






ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.eldercarethailand.com



เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ทำงานโดยอาศัยแบตเตอรี่ เครื่องนี้จะฝังไว้บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าอาจเป็นด้านซ้ายหรือขวาขึ้นกับความถนัดของคนไข้ ถ้าถนัดช้ายจะใส่ขวา ถนัดขวาจะใส่ซ้าย 
     หลังการผ่าตัดหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ผู้ป่วยมักจะกลับบ้านได้ใน 2-3 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้นอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัดในช่วง 2 วันแรกแต่จะค่อยๆดีขึ้นและหายใน 7-10 วันซึ่งเป็นเวลาที่แผลที่ผิวหนังสมานกันดีแล้ว
      
      ในระยะ 2-3 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างผ่าตัดฝังเครื่อง ไม่แกว่งแขนวงกว้างๆหรือสูง โดยเฉพาะเร็วๆ เพราะสายขั้วไฟฟ้า (Pacemaker lead) อาจหลุดจากตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้การทำงานของเครื่องขัดข้อง หลัง 3 สัปดาห์ไปแล้วโอกาสที่สายจะเลื่อนหลุดจะลดลงมาก จากปฏิกิริยาของร่างกายที่สร้างพังพืดมากห่อหุ้มและยึดเครื่องและสายไว้แน่น
     หลีกเลี่ยงการถู กด หรือเกา บริเวณแผลและรอบๆแผลเพื่อ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ไม่เพียงระยะแรกแต่ต้องตลอดไป รวมทั้งสังเกตบริเวณแผลและรอบๆแผลว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน หรือมีน้ำเหลืองไหลผิดปกติ หากสงสัยการติดเชื้อควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
     รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แพทย์อาจให้ยา ปฏิชีวนะระยะสั้นๆหลังการผ่าตัด
     หากมีอาการผิดปกติเช่น ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม เหนื่อยหอบผิดปกติ สะอึกตลอดเวลา โดยเฉพาะตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ควรรีบพบและปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
     มาพบแพทย์ตามนัดเป็นระยะเพื่อ ตรวจติดตามอาการและการทำงานของเครื่อง ครั้งแรก 1-4 สัปดาห์ ครั้งที่สอง  2-3 เดือน หลังจากนั้นทุก 6 เดือน
      หากไม่มีข้อห้ามอื่น ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติใน 2-3 วันหลังผ่าตัด และค่อยๆออกกำลังฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายภายในสัปดาห์แรก แต่ให้จำกัดการเคลื่อนไหวของแขนข้างผ่าตัด หลังการตรวจทดสอบเครื่องครั้งแรก (1-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด) ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังเพิ่มมากขึ้น ทำงานอดิเรก กิจกรรมนันทนาการต่างๆ รวมทั้งเพศสัมพันธ์ตามปกติ แต่กีฬาที่ต้องแกว่งแขนแรงๆเร็วเช่น ตีกอล์ฟอาจต้องรอให้พ้นระยะ 2 เดือนไปก่อน ส่วนการอาบน้ำขึ้นกับลักษณะการปิดแผล โดยปกติก็ต้องเลย 5-7 วันไปก่อน หากไม่มีข้อห้ามอื่น ผู้ป่วยสามารถขับรถส่วนตัวได้หลังการตรวจเครื่องครั้งแรก (1-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด) ความกังวลจะค่อยๆลดลงพร้อมกับการประกอบกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่างๆจะกลับมาเป็นปกติ
     สำหรับการเล่นกีฬา โดยทั่วไปเมื่อพ้นสองถึงสามเดือนหลังการฝังเครื่อง ไม่มีข้อห้ามสำหรับกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องคำนึงถึงโรคหัวใจ โรคอื่นๆ และสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีโอกาสเกิดการปะทะเช่น มวย หรือแม้แต่ ฟุตบอล บาสเกตบอล การกระแทกบริเวณที่ฝังเครื่องไว้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง หากเกิดการพกช้ำหรือแผลจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้

บัตรประจำตัวผู้ป่วย (Pacemaker Identification Card)

     ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับฝังเครื่อง จะได้รับบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่ออกโดยบริษัทที่จำหน่ายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ โดยมีรายละเอียดในบัตรดังนี้
ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อของผู้ป่วย
ชื่อรุ่น เลขประจำเครื่อง (Serial Number) ของเครื่องและสายขั้วไฟฟ้าที่ได้รับฝังในตัวผู้ป่วย
วันที่รับการผ่าตัด
โรงพยาบาลและแพทย์ ที่ผ่าตัดหรือดูแลติดตามผู้ป่วย รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ

ผู้ป่วยควรพกบัตรติดตัวไว้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเดินทาง เพราะอาจต้องใช้บริการทางการแพทย์ที่อื่น และสำหรับแสดงเพื่อยกเว้นการตรวจด้วยเครื่องตรวจอาวุธหรือโลหะตามสถานที่จำเพาะบางแห่งเช่น สนามบิน 

     การตรวจติดตาม ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามการทำงานของเครื่องอย่างน้อยทุก 6 เดือน การตรวจแต่ละครั้ง แพทย์จะใช้เครื่องโปรแกรมเมอร์สื่อสารกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ตรวจการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ  แบต เตอรี่ที่เหลือ  การทำงานของสายและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเต้นของหัวใจ  และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งถูกเก็บไว้ เพื่อปรับการทำงานของเครื่องหรือปรับยาเพื่อให้หัวใจทำงานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
 อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ปกติจะประมาณ 5-10 ปี ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ใช้กระตุ้นในแต่ละครั้ง และความถี่ที่เครื่องต้องส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้น หากตรวจเช็คเครื่องแล้ว พบว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ แสดงว่าแบตเตอรี่หมดอายุจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนเครื่องกระตุ้นหัวใจใหม่

      ข้อควรระวัง เนื่องจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ สนามแม่เหล็กกำลังสูงอาจมีผลต่อการทำงานของเครื่องได้ ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจและหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจรบกวนการทำงานของ เครื่องดังกล่าว

     1. อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน ส่วนใหญ่อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงานที่ทำงานปกติจะไม่มีผลรบ กวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ตามปกติ เช่น เตาไมโครเวฟ เตาอบไฟฟ้า เครื่องบด หั่น ปั่น หรือผสมอาหาร ที่เปิดกระป๋องไฟฟ้า เครื่องอบปิ้งขนมปัง เครื่องล้างจานอัตโนมัติ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า โทรศัพท์ทั้งชนิดมีและไม่มีสาย ฯลฯ แต่แนะนำให้อยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์อยู่ในตัวอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เช่น เครื่องซักผ้า อบผ้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะ ไฟรั่ว อาจมีผลรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าให้จังหวะหัวใจได้เมื่อเข้าใกล้หรือสัมผัส

      2. โทรศัพท์มือถือ (Mobile phone) ไม่มีผลต่อเครื่องแต่แนะนำให้ใช้มือและหูด้านตรงข้ามกับที่ฝังเครื่องกระตุ้นหัว ใจเวลาพูดคุยโทรศัพท์ และเมื่อไม่ได้ใช้โทรศัพท์ ก็ไม่ควรพกโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าเสื้อด้านเดียวกับที่ฝังเครื่อง กระตุ้นหัวใจหรือแขวนไว้กับคอใกล้กับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจน้อยกว่า 15 เซนติเมตรต่อเนื่องนานๆ สำหรับเครื่องที่มีกำลังมากกว่า 3 วัตต์ ให้เพิ่มระยะห่างจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าให้จังหวะหัวใจเป็น 30 เซนติเมตร  

      3. อุปกรณ์ที่มีแม่เหล็กในตัว สามารถใช้ได้แต่ให้แม่เหล็กห่างจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าให้จังหวะหัวใจมากกว่า 15 เซนติเมตร ตู้ลำโพงขนาดใหญ่มีไว้ใช้ในบ้านได้ แต่ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยยกเพราะทำให้แม่เหล็กเข้าใกล้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจมากเกินไป ที่นอนหรือหมอนที่ฝังแม่เหล็กโดยทั่วไปมักจะหลบได้ยาก และไม่สามารถอยู่ห่างจากเครื่องกระตุ้นไฟ ฟ้าหัวใจโดยเฉพาะเมื่อหลับ จึงไม่แนะนำให้ใช้

      4. สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อุปกรณ์ช่างที่มีกำลังมอเตอร์สูง มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง เช่น เลื่อยไฟฟ้า เครื่องเชื่อมโลหะ ไม่เข้าใกล้หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดพลังงาน(ไฟฟ้า)ขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในโรงไฟฟ้า เตาหลอม ไม่เข้าใกล้บริเวณหอและเครื่องส่งในสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ

     5. การตรวจรักษาทางการแพทย์ การตรวจรักษาทางการแพทย์ส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยไม่มีผลรบกวนการทำ งานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ เช่น
     การตรวจรักษาฟัน การกรอฟัน ถอนฟัน ผ่าตัดฟัน การตรวจเอ็กซ์เรย์  การตรวจด้วยคลื่นเสียงอัลตราซาวด์  

     การตรวจรักษาด้วยอุปกรณ์บางชนิดอาจมีผลรบกวนการทำงานของเครื่องชั่วคราว แต่สามารถทำได้ภายใต้การดู แลของแพทย์ โดยการปรับตำแหน่งที่วางอุปกรณ์เหล่านั้น หรือปรับโปรแกรมการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจชั่วคราว เมื่อให้การตรวจรักษาด้วยอุปกรณ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้วจึงปรับโปรมแกรมกลับมาดังเดิม เช่น เครื่องจี้ไฟฟ้าเพื่อห้ามเลือดเวลาผ่าตัด (Electrocautery) เครื่องรักษาด้วยเครื่องกำเนิดความร้อน (Diathermy) เครื่องสลายนิ่ว (Lithotripsy) เครื่องกระตุกช็อกไฟฟ้าจากภายนอก (External defibrillator) การตรวจและรักษาด้วยการใส่สายสวนหัวใจและจี้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency ablation) การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation therapy) การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านทางผิวหนังเพื่อรักษาเช่นเพื่อลดอาการปวด (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation; TENS) อุปกรณ์ช่วยการได้ยินบางอย่างใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ควรตรวจทดสอบว่ามีการรบกวนการทำงานของเครื่องกระ ตุ้นหัวใจหรือไม่ก่อนให้ใช้ เพราะต้องใช้ในระยะเวลานาน

     สำหรับการตรวจเพื่อให้ได้ภาพโดยใช้คลื่นสะท้อนแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging) ยังเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจอยู่ แม้ว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่จะมีความปลอดภัยมากขึ้นจากการรบ กวนโดยการตรวจวิธีนี้ ในรายที่ไม่มีวิธีอื่นจำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจพิเศษนี้ควรปรึกษาแพทย์

    การเดินทาง ควรพบและปรึกษาแพทย์ อาจต้องตรวจการทำงานของเครื่องก่อนการเดินทาง ต้องพกบัตรประจำตัวผู้ได้รับการฝังเครื่องด้วยเสมอ แสดงบัตรเมื่อต้องผ่านบริเวณที่มีประตูหรือการใช้อุปกรณ์สำหรับการตรวจหาอาวุธหรือโลหะ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจบริเวณที่มีเครื่องฝังอยู่ (แต่อาจต้องรับการตรวจค้นด้วยมือแทน) โดยทั่วไปการเดินผ่านประตูที่มีเครื่องตรวจอาวุธและโลหะไม่มีผลทำให้การทำงานของเครื่องเสียหน้าที่ ยกเว้นยืนค้างที่ประตูนานๆ อาจมีผลต่อการทำงานของเครื่องได้ เมื่อพ้นประตูไป ก็จะกลับสู่ปกติทันที แต่การเดินผ่านอาจกระตุ้นให้เสียงเครื่องตรวจโลหะดัง การแสดงบัตรจะช่วยให้ได้ความสะดวกในการตรวจค้นและผ่านไปได้รวดเร็วขึ้น ในห้องสมุดและตามห้างสรรพสินค้าต่างๆปัจจุบันจะที่เครื่องตรวจป้องกันการขโมย ผู้ป่วยที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจสามารถเดินผ่านได้โดยไม่ทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติ แต่ไม่ควรยืนค้างระหว่างเครื่องตรวจนานๆ  หากเครื่องตรวจจับขโมยดัง ควรแสดงบัตรประจำตัวของผู้ป่วย ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติโดยทั่วไปไม่มีผลรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าให้จังหวะหัวใจ ระบบสัญญาณกันขโมยในบ้านทั่วไปไม่มีผลทำให้เครื่องทำงานผิดปกติ และเครื่องกระตุ้นหัวใจก็ไม่กระตุ้นสัญญาณกันขโมยดังแต่อย่างใด

     หากมีโรคประจำตัวอื่นควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลด้วย รวมทั้งเตรียมยาในปริมาณที่เหมาะสม หากเดินทางไกต่างประเทศในระยะเวลานาน อาจมีความจำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ สรุปการรักษาและยาที่ใช้ เพราะอาจจะต้องใช้บริการทางการแพทย์ต่างแดนหรือซื้อยาเพิ่มเติมซึ่งมักต้องใบสั่งยาจากแพทย์

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครื่องกระตุ้นหัวใจ


"เครื่องกระตุ้นหัวใจ" รุ่นใหม่ ผ่านเข้าสแกนในอุโมงค์ "เอ็มอาร์ไอ" ได้หายห่วง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.prachachat.net

ก้าวเข้าสู่วัยชรา...นอกจากสังขารที่ร่วงโรยแล้ว อวัยวะต่าง ๆ ก็ยังเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

แต่มีอวัยวะอย่างหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่เป็นอย่างยิ่งนั่นคือ "หัวใจ" เพราะถ้าเกิดเหตุกับอวัยวะนี้แล้ว ทุกอย่างก็จบไปพร้อม ๆ กัน


สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ...เวลานี้มีเทคโนโลยีล่าสุดที่เข้ามาช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติที่สามารถช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้เป็นไปตามปกติได้


นั่นคือเครื่องกระตุ้นหัวใจ !


น.พ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า โดยปกติหัวใจของคนเราจะเต้นนาทีละ 60-100 ครั้ง แต่ถ้ามีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ อาทิ การออกกำลังกาย


สำหรับคนที่หัวใจเต้นช้าจะมีอัตราการเต้นต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 30-40 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น ส่วนผู้ที่หัวใจเต้นเร็วก็จะมีอัตราการเต้นสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป


ขั้นตอนการรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว


ทางการแพทย์มียารับประทานที่จะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้อยู่ในภาวะปกติได้ แต่ถ้าเป็นอาการของหัวใจเต้นช้าแล้วจำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่จะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เข้าสู่ภาวะปกติ


"สาเหตุของหัวใจเต้นช้ามาจาก 2 ปัจจัยที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย คือ 1.แบตเตอรี่หัวใจซึ่งอยู่หัวบนขวาเสื่อม 2.ระบบสายไฟในหัวใจเสื่อม ซึ่งทำให้มีการลัดวงจรของการเต้นของหัวใจ


มีผลให้หัวใจเต้นช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีการหน้ามืด เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เหนื่อยง่าย และทำให้หัวใจล้มเหลวได้"


วิธีการรักษา


การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจไว้กับผู้ป่วย เครื่องนี้จะมีขนาดใกล้เคียงกับเหรียญ 10 บาท และมีสายร้อยเข้าไปในหัวใจห้องบนและห้องล่างอย่างละ 1 เส้น


ในตัวเครื่องจะมีแบตเตอรี่ที่คอยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้บีบตัวได้ตามปกติ ซึ่งอายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ในเครื่องโดยจะมีอายุประมาณ 8-10 ปี


"วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ทำด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยใช้เวลาในการพักฟื้นแค่ 2-3 วันก็กลับบ้านได้ และถ้าแบตเตอรี่หมดก็เพียงแค่มาผ่าตัดเปลี่ยนแบตเตอรี่เท่านั้น"


ค่าใช้จ่าย


การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนบาทขึ้นไป แต่เวลานี้ระบบบัตรประกันสุขภาพสามารถครอบคลุมได้หมด


ระบบประกันสังคมสามารถทำเรื่องขออนุมัติได้เป็นราย ๆ ไป ในปี 2553 ที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ติดตั้งเครื่องนี้ไปแล้ว 1,800 ราย


อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจในช่วงที่ผ่านมาจะถูกห้ามทำสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) ซึ่งเป็นเครื่องที่ตรวจโดยใช้สนามแม่เหล็ก เพราะอาจจะส่งผลต่อเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ทำงานด้วยวงจรไฟฟ้า อาจจะเสี่ยงเกิดการลัดวงจรภายในตัวเครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อชีวิตของผู้ป่วยได้


"ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหลายพันคน เป็นผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะต้องวินิจฉัยโรคโดยใช้เอ็มอาร์ไอ เช่น โรคมะเร็ง พบว่าผู้ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจกว่า 50-75% จำเป็นต้องได้รับการสแกนเอ็มอาร์ไอ 1 ครั้งในช่วงอายุการใช้งานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ"


แต่เวลานี้มีเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับเครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่ สามารถเข้าเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอได้เพียงแค่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเครื่องกระตุ้นหัวใจใหม่ด้วยการลดจำนวนโลหะในเครื่องลง และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น รับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยเรียบร้อบแล้ว


นี่คือ...อีกหนึ่งนวัตกรรมสำหรับชีวิต !

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“โรงพยาบาล” ในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗


ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านโคกพนมดี ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี มีโบราณสถานที่เรียกว่า "อโรคยศาล" ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโบราณสถานพระพุทธบาทคู่ ณ วัดสระมรกต บ้านสระข่อย ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี  รพ.สต.บ้านโคกพนมดีเห็นว่า บทความเรื่อง โรงพยาบาลในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่7 มีเนื้อหาน่าสนใจ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ขอขอบคุณข้อมูลจาก นวพรรณ ภัทรมูล กลุ่มงานวิชาการ  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเป็นอย่างยิ่งค่ะ 

ภาพจากThai-tour.com ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อประชาชนมีโรคถึงความหายนะ ตามภาวะ
แห่งกรรมด้วยการสิ้นไปแห่งอายุเพราะบุญพระองค์ผู้เป็นราชา ได้กระทำโคที่สมบูรณ์ทั้งสาม เพื่อประกาศยุคอันประเสริฐ” 

ข้อความข้างต้นนี้ เป็นข้อความส่วนหนึ่งของจารึก ในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่อบอกถึงความมุ่งหมายในการสร้างสถานพยาบาล หรือ “อโรคยาศาล” (คำๆ นี้ปรากฏอยู่ในจารึกบรรทัดที่ ๗ ด้านที่ ๒ ของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่๗) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและภารกิจของอโรคยาศาลที่ได้ระบุไว้ในจารึกนั้น ก็เทียบได้กับโรงพยาบาลในปัจจุบันนั่นเอง จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่าที่พบในประเทศไทย ณ ตอนนี้ มีทั้งหมด ๖ หลัก ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกดังกล่าว ได้รับการรวบรวมและเผยแพร่ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นในหนังสือ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘) และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม
(กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) ตลอดจน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ที่จัดทาโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) การที่ได้จัดกลุ่มจารึกเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาที่จารึกนั้นมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันมาก จะต่างกันบ้างก็แต่จานวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุในจารึก อีกทั้งจารึกทุกหลักได้ระบุอย่างชัดเจนถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ดังนั้น พระนาม "ศรีชัยวรมัน" ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.. ๑๗๒๔๑๗๖๑

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (.. ๑๗๒๔๑๗๖๑)
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์มหิธรปุระโดยทางพระราชบิดา (พระเจ้าธรณินธรวรมันที่ ๒) ส่วนพระราชมารดานั้นก็
ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.. ๑๗๒๔ และอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชัยราชเทวี แต่พระนางสวรรคตเมื่อพระชนม์ยังน้อย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอินทรเทวี ซึ่งเป็นพระพี่นางของพระนางชัยราชเทวีอีกครั้งหนึ่ง พระนางอินทรเทวีทรงมีความรู้หลากหลาย ทรงรอบรู้ในปรัชญา และทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงมีพระเมตตาต่ออาณา ประชาราษฎร์เป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้สร้างสิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อประชาชนเป็นจานวนมาก ซึ่งการก่อสร้างนี้เอง เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง ราชอาณาจักรทรุดโทรมลงในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทรงโปรดให้สร้างสถาน พยาบาล หรือที่เราจะเรียกกันต่อไปนี้ว่าโรง พยาบาลนั้นถึง ๑๐๒ แห่ง ทั่วทั้งราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่รักษาคนป่วย อีกทั้งยังพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรคนั้น ทาให้สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ไปเป็นอันมาก

อโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล ประกอบด้วย ปรางค์ประธาน มีอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ล้อมรอบด้วยกาแพงแก้ว ตาแหน่งของบรรณาลัย มักจะอยู่ค่อนไปที่มุมด้านทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้เสมอ มีซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดกึ่งกลางของกาแพงแก้วด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกกาแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือที่เรียกว่า บาราย หรือสระน้าศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลง

อโรคยาศาล เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตาม รายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร จะเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แผ่พระราชอานาจไปถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้
โรงพยาบาลในจารึก

ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลคาอ่านคาแปลของ จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งหมด ๖ หลัก ได้แก่ จารึกพบที่จังหวัดสุรินทร์ ๓ หลัก คือ จารึกปราสาท (สร. ), จารึกตาเมียนโตจ (สร. ), จารึกสุรินทร์ ๒ (สร. ) จารึกพบที่จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัก คือ จารึกเมืองพิมาย (นม. ๑๗) จารึกพบที่จังหวัดบุรีรัมย์ ๑ หลัก คือ จารึกด่านประคา (บร. ) และจารึกพบที่จังหวัดชัยภูมิ ๑ หลัก คือจารึกวัดกู่บ้านหนองบัว (ชย. ) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบในส่วนของเนื้อหาแล้วพบว่า ทุกหลักมีเนื้อหาและการเรียงลาดับข้อมูลเหมือนกัน กล่าวคือ
จารึกด้านที่ ๑ จะขึ้นต้นด้วยการกล่าว
นมัสการเทพประจาโรงพยาบาล ตามด้วยสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และพระเทวี พร้อมกล่าวถึงมูลเหตุที่สร้างโรงพยาบาล” 
จารึกด้านที่ ๒ กล่าวถึงจานวนเจ้าหน้าที่ประจาโรงพยาบาลตลอดจน
หน้าที่ของแต่ละคน
จารึกด้านที่ ๓ กล่าวถึงจานวนสิ่งของเครื่องใช้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้อุทิศไว้
ข้อแตกต่างของจารึกแต่ละหลักมีเพียงส่วนของ จานวนเจ้าหน้าที่ และจานวนสิ่งของที่ได้รับมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่านั้น
อย่างไรก็ดี เมื่อตัดข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ไป ก็พบว่าเนื้อหาจารึกโดยรวมนั้น ได้ระบุถึงส่วนประกอบสาคัญที่ประกอบกันขึ้นเป็นโรงพยาบาลอันมีอยู่ ๓ ส่วน
ด้วยกัน ได้แก่ เทพประจาโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ประจาโรงพยาบาล สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล
- เทพประจาโรงพยาบาล
เทพประจาโรงพยาบาล มี ๓ องค์ด้วยกัน ได้แก่ พระไภสัชครุไวทูรย์ (พระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระชินะ ถือเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งผู้ประสาทความไม่มีโรคแก่ประชาชน
เทพอีกสององค์เป็นพระชิโนรส ได้แก่ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และ พระศรีจันทรไวโรจนโรหินีศะ ผู้ขจัดซึ่งโรคของประชาชน
- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลมีหลายตาแหน่ง แต่ละตาแหน่งมีจานวนบุคคลไม่เท่ากันในแต่ละโรงพยาบาล ในที่นี้จึงขอแสดงจานวนไว้คร่าวๆ ดังนี้
() แพทย์ จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่ดูแลทรัพย์สิน
ของโรงพยาบาล ธุรการ หาข้าวเปลือก หาฟืน
และจ่ายยา จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่จัดพลีทาน ทาบัตรจ่ายสลากยา หาฟืนเพื่อต้มยา จานวน ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่หุงต้ม ดูแลรักษาและจ่ายน้า หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญตลอดจนทาความสะอาดเทวสถาน จานวน ๑ ถึง ๒ คน
() เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทาหน้าที่ดูแลรักษาโรง พยาบาล และส่งยาแก่แพทย์  ๑๔ คน
() เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ให้ สถิติ จำนวน ๒ ถึง ๓ คน
() เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ดูแล
ทั่วไป จำนวน ๔ คน
() เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่โม่ยา จานวน ๒ ถึง ๖ คน
() เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่ตำข้าว จานวน ๒ คน
(๑๐) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทาหน้าที่ ประกอบพิธีบูชายัญ จานวน ๒ คน
(๑๑) โหราจารย์ จำนวน ๑ คน
ยังมีตำแหน่งผู้ดูแล, ธุรการ และผู้ให้สถิติอีก หลายคน ซึ่งระบุจำนวนไว้ไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม จารึกปราสาท และจารึกสุรินทร์ ๒ ได้ระบุไว้ว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในโรงพยาบาลมีถึง ๙๘ คน
-สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล
เช่นเดียวกับจำนวนเจ้าหน้าที่ รายการจานวนสิ่ง ของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ได้รับมาไว้ใช้ในโรงพยาบาลนั้นมีจานวนไม่เท่ากันในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จำนวนที่กล่าวถึงในที่นี้จึงเป็นจานวนที่พอจะทราบโดยประมาณ บางรายการไม่ได้ระบุจำนวนไว้ก็มี
() ข้าวสาร ๑ โทรณะ1
() เครื่องพลีทาน
() เครื่องนุ่งห่มที่มีชายสีแดง ๑ ผืน
() เครื่องนุ่งห่มสีขาว ๒ คู่
() ผ้าสีขาว ๖ ผืน
() อาหารโค ๒ ปละ2
() กฤษณา ๓๙ ปละ3
() เทียนขี้ผึ้ง ๓๗ ปละ
() น้าผึ้ง ๒๔ ปรัสถะ4 (หรือ กุทุวะ5?)
(๑๐) น้ำมัน ๑๓ ปรัสถะ
(๑๑) เนยใส ๑๓ ปรัสถะ (หรือ กุทุวะ?)
(๑๒) บุนนาค6 ๒ บาท
............................................................
1 โทรณะ มาจาก โทฺรณ (ภาษาสันสกฤต) หมาย ถึง โทณะ, ทะนาน เครื่องตวงอย่างหนึ่ง
2 ปละ มาจาก ปล (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง
หน่วยวัดน้าหนัก เท่ากับ ๔ กรฺษ
3 กฤษณา คือ ส่วนของไม้ซึ่งมีสีดา กลิ่นหอม ใช้ทายาได้
4 ปรัสถะ มาจาก ปฺรสฺถ (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง หน่วยวัดปริมาณ, ความจุ
5 กุทุวะ ไม่ทราบความหมาย แต่คาดว่าน่าจะเป็นหน่วยวัดอีกประเภทหนึ่ง
6 บุนนาค เป็นชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภี แต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทายาได้
7 มหาหิงคุ์ เป็นยางของต้นไม้ล้มลุกหลายชนิด มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก
8 สรปะ มาจาก สรฺษป (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง หน่วยวัดที่ใช้กับวัตถุที่เบาที่สุด
9 ดีปลี ชื่อไม้เถา มีรากตามข้อของลาต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดยเฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้เป็นเครื่องเทศและทายาได้
10 ชะเอม แก้วคล้าย : ไม่ทราบความหมายภาษาไทย จึงขอแปลทับศัพท์ ตามรูปศัพท์ "มิตรเทวะ" แปลว่า เทวดาผู้เป็นมิตร แต่ในที่นี้ น่าจะเป็นชื่อเครื่องยาโบราณ จึงไม่ทราบความหมาย
(๑๓) จันทน์เทศ ๒๓ ผล
(๑๔) เกลือ ๑ บาท
(๑๕) ผลกระวานเล็ก ๑ บาท
(๑๖) กายาน ๑ บาท
(๑๗) มหาหิงคุ์7 ๑ บาท
(๑๘) น้าตาลกรวด ๒ ปละ
(๑๙) เหลือบ ๓๕ ตัว
(๒๐) ไม้จันทน์
(๒๑) ยางสนข้น
(๒๒) ดอกไม้ ๑๐๐ ดอก
(๒๓) พริกขี้หนู ๒๓ กุทุวะ
(๒๔) พริกไทย ๒ ปรัสถะ (หรือ สรปะ8?)
(๒๕) พริกไทย ๑.๕ กามือ
(๒๖) น้ากระเทียม ๑ ปละ
(๒๗) เปลือกกระเทียม ๑ ปละ
(๒๘) ดีปลี9ผง ๑๒ บาท
(๒๙) มิตรเทวะ10 ๓ บาท
(๓๐) ใบไม้ ๔๐ ใบ
(๓๑) กิ่งไม้ ๒๘ กิ่ง
(๓๒) ผักทอดยอด ๒ สรปะ
(๓๓) ถั่วฝักยาว ๒ สรปะ
11 ชะเอม แก้วคล้าย : ไม่ทราบความหมายภาษาไทย จึงขอแปลทับศัพท์ ตามรูปศัพท์ "ทารวเฉท" แปลว่า เครื่องตัดไม้ หรือมีดตัดไม้
(๓๔) เทียนไข ๕ ปละ
(๓๕) ขี้ผึ้ง
(๓๖) น้าพุทรา ๑ ปรัสถะ
(๓๗) พุทรา ๑ ลูก
(๓๘) เมล็ดธานี
(๓๙) ผลตาลึง ๑.๕ ผล
(๔๐) ข้าวบาร์ลีย์ ๑ บาท
(๔๑) ผลกระวานใหญ่ ๒ สรปะ
(๔๑) ขิงแห้ง ๒ สรปะ
(๔๒) หญ้ากระด้าง ๑ กามือ
(๔๓) น้าดอกไม้ ๓ กุทุวะ
(๔๔) เปลือกไม้ ๓ ปละ
(๔๔) ภาชนะดีบุก ๙ ใบ
(๔๕) เครื่องแต่งตัวยาวเก้าคืบ ๑๕ คู่
(๔๖) เสื้อผ้ายาวสิบคืบ ๑๒ คู่
(๔๖) ผ้าลายดอก
(๔๗) เสื้อยาว ๓ ตัว
(๔๘) ทารวเฉท11

เอกสารอ้างอิง
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึก ด่านประคา.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ 

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาชาวนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจhttp://www.prachachat.net/

ภูมิปัญญาชาวนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน โครงการปั้นทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ ความสุขที่สัมผัสได้จริง...


ถ้าเป็นเมื่อก่อน บ้านหนองแต้ ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ไกลปืนเที่ยง แต่วันนี้ อาจไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว

...วันนี้ หมู่บ้านแห่งนี้ดูคึกคัก มีชีวิตชีวา และกำลังได้รับความสนใจ เมื่อกลายเป็นแหล่งกรณีศึกษา "ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท !"

โครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เป็นโครงการริเริ่มของภาคเอกชนอย่างหอการค้าไทย ที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ และรายได้ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ มีพื้นที่นำร่อง คือบ้านหนองแต้, บ้านบ่อ, บ้านกุดเชียงมี ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

"ดุสิต นนทะนาคร" ประธานหอการค้าไทย เผยว่า หอการค้าไทยริเริ่มโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เพื่อต้องการช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จังหวัดที่เลือกเป็นโครงการนำร่อง คือ จ.ขอนแก่น โดยผลักดันให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทำเกษตรแบบ ผสนผสาน ทำนา ปลูกพืชเสริม และเลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้

"หากสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ผมเชื่อว่าจะช่วยลดความแตกแยกในสังคมไทยด้วย ชาวบ้านต้องขยันขึ้น เหนื่อยขึ้น แต่ก็มีความสุขขึ้น เพราะทุกภาคส่วนจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการ"

1 ไร่ 1 แสน ฝันที่เป็นจริง

"สมัย สายอ่อนตา" ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.บ้านดง เล่าว่า แต่เดิม ชาวบ้านได้ยินโครงการแล้ว ไม่มีใครเชื่อแม้แต่คนเดียว หลังจากมีทีมงานวิจัยของ ม.หอการค้าไทยและคณะเข้ามาเก็บข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะแนวทางในหลักวิชาการให้เข้ากับกับภูมิปัญญาของชาวนา ชาวบ้านก็ค่อย ๆ เปลี่ยนทัศนคติไปจากเดิม

ว่า ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท สามารถทำได้จริง ๆ

ทั้งนี้ วิธีการทำนาของเกษตรกร ก็คือแบ่งแปลงนาขนาด 1 ไร่ ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรก คือ "คันนา" ขนาดความกว้าง 1.5 เมตร ไว้สำหรับปลูกพืชประกอบ เช่น พริก มะนาว มะรุม โดยพืชที่ปลูกบนคันนา จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร เหลือจากการขาย สามารถทำเป็นพืชสมุนไพร ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ส่วนที่สอง คือขุดร่องน้ำสำหรับทำประมง เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะกลายเป็นปุ๋ยแก่ข้าว ขณะที่ส่วนที่สาม คือพื้นที่สำหรับปลูกข้าว และส่วนที่สี่ คือพื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่ จะปล่อยเป็ดไปหากินตามแปลงนาได้

"สมัย" อธิบายว่า ชาวนาจะปรับสภาพดินโดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดมาเป็นพิเศษในห้องทดลอง แล้วทำระบบนิเวศน์ใหม่ให้เหมาะสมกับการเกิดแพลงตอนในนาข้าว ถ้าทำได้ จะทำให้เกิดสาหร่ายสีเขียวที่มีประโยชน์ในนาข้าวเป็นจำนวนมาก พวกสัตว์น้ำทั้งหลาย กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ หามาปล่อยให้มันกินกันเอง

และเมื่อให้ปุ๋ยกับต้นข้าว สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือจะมีแมลงปอมาวางไข่เป็นจำนวนมาก กลายเป็นกองทัพอากาศ ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ส่วนตามคันนา ก็ปลูกพืชที่สร้าง รายได้เสริม เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ มะเขือ หอมแดง หรือมะรุม และเลี้ยงสัตว์ประกอบ เช่น เลี้ยงเป็ดไข่ กบ เพื่อเสริมรายได้

เมื่อเข้าช่วงเก็บเกี่ยว พบว่าได้ข้าวติดรวงเป็นจำนวนมาก มากกว่านั้น ยังขายได้ทั้งพืชอื่น ๆ ที่ปลูกตามคันนาไว้ ขายปลา ขายหอย ขายปู ขายกุ้ง ส่วนข้าวที่ปลูก ขายเป็นข้าวหอมนิล กินแล้วมีสรรพคุณเป็นยา ช่วยต้านทานโรคได้สารพัด

ประยุกต์ภูมิปัญญาดั้งเดิม

"สมัย" เล่าต่อว่า ส่วนหนึ่งที่ชาวนาที่นี่ทำได้ เพราะผู้เข้าร่วมโครงการส่วนมากเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ เพราะส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ตำบลบ้านดง พวกเราใช้หลักนิเวศวิทยา ไม่มีการใช้สารเคมี กลับไปทำนาแบบดั้งเดิมเมื่อหลายร้อยปีก่อน และนำความรู้ที่แฝงในพระไตรปิฎกมาประยุกต์ใช้ คือเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง

ล่าสุด จากการประเมินผลการดำเนินงานของทีมงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า จากกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2553 ผลตอบรับจากเกษตรกรเป็นที่น่าพอใจ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ทั้งสิ้น 19 ราย มี 8 ราย ทำเต็มรูปแบบโครงการ และมีถึง 6 ราย มีรายรับรวมของผลผลิตโดยประมาณเกินกว่า 1 แสนบาท โดยเกษตรกร 6 รายนี้ยังมีรายได้เสริม นอกจากการทำนา คือการขายสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำถึงร้อยละ 76 ของรายได้รวม นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากพืชอีกร้อยละ 10

"สมัย" บอกว่า สิ่งที่ชาวนาตำบลบ้านดงได้เรียนรู้ คือพวกเราสามารถบริหารจัดการพื้นที่น้อย ๆ ให้มีประโยชน์ได้มากที่สุด เช่น ขุดคูลอกนา ปกติกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ถ้าทำนาอย่างเดียว รายได้จะไม่เกิน 2 พันบาท แต่ถ้าเลี้ยงปลาด้วย ก็จะมีรายได้ประมาณ 5,000-6,000 บาท สมมติปล่อยได้เป็นหมื่นตัว นับอัตราการตาย 30% ก็เหลือราว 7 พันตัว ถ้าคิดตัวละ 10 บาท มีรายได้ 7 หมื่นบาทแล้ว

ส่วนผัก เช่น พริก ปกติจะต้องหว่านกล้าก่อน แต่องค์ความรู้ใหม่ที่เราได้จากหอการค้า ก็คือเอาเมล็ดไปปลูกเลย ปลูกที่คันนา กลายเป็นรายได้เสริม จากการทำนา "สมัย" เล่าด้วยความภูมิใจว่า ในฐาะชาวนา สำหรับเขาแล้ว ยังไม่ได้กำเงินแสนหรอก แต่สิ่งที่เขาได้กลับคืนมา คือวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ความปรองดองในชุมชน ซึ่งไม่ต้องเสียเงิน งบประมาณ

"สำหรับผม ผมไม่ได้เอาเงินเป็นที่ตั้ง ทุกวันนี้ ผมทำ นาบุญ รักษาแม่ธรณีไว้ รักษาแม่โพสพไว้ ผมไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เกี่ยวข้าวเสร็จ ไม่เผาหญ้า ไม่เผาฟาง"

ต้องเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

เขาบอกว่า "...เราอาจจะเอาเงินเป็นเป้าหมายได้ แต่ไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง ก็เหมือนแข่งกีฬา เป้าหมายคือเหรียญทอง แต่กว่าจะได้มาด้วยเหรียญทอง ก็ต้อง ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ ทำ เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าคุณเอาเงินเป็นที่ตั้ง ทำทุกวิถีทางที่จะได้เงิน สิ่งที่จะหวนกลับมาหาคุณ คือนาบาป"

"ใครถามผมว่า ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท จริงหรือ ผมตอบว่า จริง (ครับ) แต่ถ้าถามว่า เห็นตัวเงินหรือยัง วันนี้เห็นแค่ 20% สำหรับผมเรียกโครงการนี้ว่า โครงการไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเราต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ว่า ทำแล้วจะได้เลย

สำหรับ "สมัย" เขาตัดสินใจลาออกจากราชการตำรวจ เมื่อ 10 ปีก่อน แล้วกลับมาทำนาที่บ้านเกิด ร่วมกับสมาชิกในหมู่บ้าน ก่อตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.บ้านดง เปลี่ยนแนวคิดการทำนาเสียใหม่ คือเลิกใช้ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลง หันเข้าหาเกษตรธรรมชาติ ปัจจุบัน "สมัย" มีความสุขและภาคภูมิใจกับอาชีพชาวนาที่เขารัก

ทุกวันนี้ "สมัย" สายอ่อนตา ผู้ชายธรรมดา ใส่เสื้อราคาถูก แห่งบ้านดง มีรายรับต่อเดือนเกือบ 3 หมื่นบาท เป็นรายรับจากข้าว 7 พันกว่าบาท รายรับจากการเลี้ยงสัตว์ 2 หมื่นบาท และรายรับจากการปลูกพืชอีกเกือบ 1 พันบาท จากที่เคยมีรายได้แค่หลักพันกว่าบาท จากการปลูกข้าวอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า สิ่งที่นอกเหนือจากเงิน คือ "...ผมได้ขวัญและกำลังใจคืนมา ผมทำนาบุญ ได้รักษาแม่ธรณีไว้ ได้รักษาแม่คงคา และที่ได้แน่นอน คือผมรักษาแม่โพสพ คือข้าว เอาไว้"

โดยเขาหวังว่า ในอนาคต สิ่งที่เขาลงมือปฏิบัติด้วยหยาดเหงื่อแรงงานจนเห็นผล จะเป็นแรงบันดาลใจให้แรงงานลูกหลานชาวนากลับบ้านมาทำนา

"ทุกวันนี้ ผมอบรมทายาทเกษตรกรทุกวัน ให้ลูกหลานเหล่านี้รู้ว่า พ่อแม่ทำไร่ทำนา มีความยากลำบากแค่ไหน กว่าจะได้เงินมา ให้เขาเรียนรู้ว่า การทำนาเป็นอย่างไร ผมจะดึงคนที่ได้รับใบลาออก จากบ้านกลับคืนสู่ท้องถิ่น ซึ่งก็คือใบปริญญา แต่เราก็ต้องสร้างความมั่นใจให้เขาว่าสามารถสร้างพื้นฐานให้เขา โดยใช้วิถีชุมชน วิถีชาวนาของเรานี่แหละ ซึ่งมันมากกว่าเงิน 1 แสนบาท"

มากกว่านั้น สิ่งที่ทำให้ "สมัย" ภาคภูมิใจในอาชีพชาวนา ก็คือ "...ทุกครั้งที่ลงนา ผมชอบยืนสงบ ๆ หลับตาอยู่กลางทุ่ง แต่พอลืมตาขึ้นมา เห็นชีวิตที่สว่าง มองเห็นงานที่ตัวเองจะทำในอนาคต เมื่อก่อน ทำนาไปเรื่อยเปื่อย แต่วันนี้ เป็นชาวนา มีเวลา มีข้าว มีความสุข ผมมองทิศทางเห็นหมดแล้วว่า ชีวิตผมจะไปทางไหน"

ด้าน "ชื่น คลังกลาง" คุณลุง วัย 60 ปี ชาวนาอีกคนที่เห็นผลเป็นรูปธรรม จากโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท มากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเมื่อประมาณการรายได้สุทธิแล้ว ลุงชื่นมีรายรับกว่า 230,000 บาท

ลุงชื่นเฉลยความสำเร็จเบื้องต้นว่า เมื่อครั้งได้ยินโครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ผมอุทานว่า "จะได้ 1 แสนบาท จริงหรือ" ? ยิ่งได้ฟังหลักการต่าง ๆ เรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ลุงชื่นไม่เชื่อ...

แต่หลังจากเดินทางไปดูแปลงนาต้นแบบที่ จ.นครปฐม ของอาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์ และอาจารย์อดิศร พวงชมภู ลุงชื่นกลับมาบ้าน และเริ่มมีความคิดว่า จะต้องทำให้ได้บ้าง

ปั้นทายาทเกษตรกร

ที่สุดแล้ว ลุงชื่นจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากปรับพื้นที่แปลงนาตามรูปแบบของโครงการ เพาะกล้า โยนกล้า และปลาดุกลงไป 1 หมื่นกว่าตัว ใส่กบอีก 1 หมื่นตัว นอกจากนี้ ยังปลูกพริก หอมแดง ต้นหอม มะละกอ ฯลฯ

ลุงชื่นบอกว่า แรกทีเดียว เจออุปสรรคและปัญหา โดยเฉพาะเรื่องการนำน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะต้องใช้เครื่องสูบน้ำ และการรักษาพืชผลทางการเกษตรไม่ให้ถูกขโมย เพราะแปลงนาอยู่ไกลจากหมู่บ้าน

แต่ลุงชื่นยังไม่ท้อ เมื่อได้รับคำแนะนำจากอาจารย์กิตติ์ธเนศ และอาจารย์อดิศรให้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อสูบน้ำเข้าพื้นที่เกษตร และยังใช้เป็นแสงสว่างในการดูแล

"...ความรู้นี้ ทำให้ผมได้รู้จักการบริหารจัดการให้เป็นระบบมากขึ้นด้วย" ลุงชื่นบอก

ผลจากความขยัน ไม่ย่อท้อ และชอบเรื่องการเกษตรเป็นทุนเดิม 1 เดือนผ่านไป ลุงชื่นเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง ข้าวในนาลุงชื่นเริ่มงาม เพราะลุงชื่นขยันฉีดพ่นน้ำ กบและปลาในนาเริ่มตัวโต "...ตอนแรก ก็คิดว่าจะไปไม่ได้ แต่พอเริ่มทำ ก็รู้สึกว่ามันดี และคิดว่า ไร่ละ 1 แสนบาท น่าจะเป็นไปได้" ลุงชื่นกล่าวด้วยความพอใจ

"ที่น่าพอใจ เพราะเห็นผล (ครับ) ผมใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้ว ให้เกิดมูลค่าในพืชผลไม่ให้สูญเปล่า หลายคนถามว่า อยู่ร่วมกันได้อย่างไร ผมก็ตอบซื่อ ๆ ว่า ก็ต้องหาวิธีให้อยู่ด้วยกันให้ได้ เพราะในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"

ลุงชื่นตั้งใจว่า จะทำให้ลูกหลานเห็นว่าสามารถทำสำเร็จด้วยความจริง ให้เห็นผลในระยะยาว เพื่อลูกหลานชาวนาจะกลับมาเพิ่มขึ้น

"ผมว่า วันนี้ เราถึงจุดสูงสุดในการเป็นเกษตกร ผมภูมิใจมาก อยากจะบอกกับทายาทเกษตรกรว่า เรามาช่วยสร้างสรรค์ให้เกษตรกรยั่งยืนต่อไป ให้ชาวนายั่งยืนต่อไป" ลุงชื่น ชาวนา ผู้ยิ่งใหญ่ทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตาม "ลุงชื่น" เตือนว่า ที่ทุกคนเห็นว่าสำเร็จ น่าสนใจ มาศึกษาดูงาน ขอถ่ายรูป อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องง่าย เพราะกว่าจะถึงวันนี้ ต้องเรียนรู้ ตรากตรำลำบาก ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ฉะนั้น ต้องตั้งใจทำจริง ๆ เท่านั้น จึงจะเห็นผล

กรณีศึกษา "ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท" ถือเป็นโครงการเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ บนความรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังในระยะยาวว่า จะไม่เป็นแค่กระแส หรือเป็นไฟไหม้ฟางในที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่อง ที่ท้าทาย !

นี่คือการปฏิรูป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเครือข่ายชุมชนเขาทำอยู่แล้ว รัฐและเอกชนเข้าไปต่อยอด หรือส่งเสริมสนับสนุนในสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริง เกษตรกร-ชาวนา จะต้องยืนได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริงเสียที

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ซองยาต้องมีชื่อยา “กินยาไม่รู้ชื่อยา อันตรายกว่าที่คิด”

        การใช้ยาฟุ่มเฟือยและไม่เหมาะสม ถือเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยขณะนี้ แต่ละปียอดค่าใช้จ่ายการใช้ยาคนไทยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ  42.80 ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด  ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียงร้อยละ 10-20  เท่านั้น

       แม้ว่าประเทศไทยจะเข้าถึงยาได้สูงแต่ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยร้อยละ 18-30 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาอันเนื่องจากยา ทั้งที่สามารถป้องกันได้ ขณะที่สิทธิผู้บริโภคเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างมากช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการอย่างรอบด้าน ซึ่ง "ยา" ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น แต่ประชาชนยังรับรู้สิ่งที่ควรทราบน้อย เช่น ชื่อยา สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อระวัง เพราะไม่ว่าจะเป็นคลินิก ร้านขายยา หรือสถานพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ บนซองยาจะมีเพียงแค่ขนาด และวิธีใช้  แต่ไม่มีวิธีใช้  แต่ไม่มีชื่อยาในฉลากยา

       เครือข่ายเภสัช--ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน จึงร่วมกับเครือข่ายเภสัชกรชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จ.ลพบุรี เครือข่ายผู้บริโภคภาคภาคประชาชน จ.ลพบุรี และและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ริโภค จ.สมุทรสงคราม ภายใต้ายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างรสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระดม ระดมความคิดและร่วมหารือถึงประเด็นสิทธิที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบเมื่อได้รับยา เพื่อย้ำว่า "ซองยา ต้องมีชื่อยา"

       การไม่ทราบชื่อยา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ตามมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ยาซ้ำ เพราะเมื่อแพ้ยาสิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ยาดังกล่าวซ้ำ เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจอันตรายถึงชีวิต  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการได้ยาเกินขนาด  เพราะการรับยาจากคลินิกหรือร้านขายยาหลาย ๆ แห่ง หากไม่ทราบชื่อยาก็ทำให้จะเกิดโอกาสที่จะรับยาชนิดเดียวกันซ้ำ ทำให้เสี่ยงต่อการรับยาเกินขนาดได้ หรือทำให้ต้องใช้ยาที่แพงขึ้นเพราะไม่ทราบประวัติการใช้ยาที่ใช้มาก่อน   แล้วความสิ้นเปลืองก็จะตามมา เพราะผู้ป่วยบางราย เมื่อรับยาจากที่ใดแล้วอาการดีขึ้น ก็มักจะกลับไปรับยาซ้ำ หากมีการย้ายถิ่นฐานก็ไม่สามารถเปลี่ยนที่ซื้อยาได้ เพราะไม่ทราบชื่อยา ก็จำเป็นต้องกลับไปที่เดิมเพื่อให้ยาตัวเดิมที่ใช้แล้วมีอาการดีขึ้น

       ภก.เด่นชัย ดอกพอง เครือข่ายเภสัช-ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน อธิบายถึงผลการสำรวจ เรื่อง "การให้ข้อมูลยาของคลินิกและร้านขายยาแก่ผู้ป่วย จังหวัดศรีสะเกษ" เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้ข้อมูลยาของคลินิกแพทย์และร้านขายยา หลังทำการสำรวจ 20 แห่ง พบว่า คลินิก 8 แห่ง และร้านขายยา 10 แห่ง ไม่ให้ชื่อยาในฉลากยา โดยระบุเพียงขนาด และวิธีใช้เท่านั้น โดยมีคลินิกและร้านขายยาเพียงอย่างละ 1 แห่ง เท่านั้นที่ระบุชื่อยาในฉลากยา และส่วนใหญ่ก็มิได้ให้คำแนะนำผลข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์ ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวขณะใช้ยา

       "เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ จะพบว่า มีการใส่ชื่อยาสามัญ หรือชื่อทางการค้าเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากคลินิกหรือร้านขายยาจะทำ แต่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าไม่มีเวลาหรือยากที่จะปฏิบัติ ในอนาคตการแก้ปัญหานี้จะทำได้โดยทำให้เกิดสมุดบันทึกการรักษาการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย หรือสมาร์ทการ์ด ไม่ว่าจะรับยาจากไหน ก็ต้องมีประวัติบันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยทุกคน"
สิ่งที่ประชาชนควรได้รับจากคลินิกแพทย์และร้านขายยา เมื่อต้องรับยา เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คือ ชื่อยาเป็นภาษาไทยหรือชื่อภาษาอังกฤษ  เป็นชื่อสามัญทางยาหรือชื่อการค้า, ข้อบ่งใช้ของยาในแต่ละตัวว่ามีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร, ขนาดและวิธีใช้เพื่อบอกปริมาณยาที่ใช้  วิธีการบริหารยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี, ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา, ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในขณะใช้ยา และการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยา
       

       แน่นอนว่าถ้าปัญหาเหล่านี้มิได้รับการแก้ไข นอกจากผู้บริโภคจะต้องประสบกับภาวะเสี่ยงแล้ว ปัญหานี้จะยังไปถึงการเปลี่ยนยาบ่อย ๆ ใช้ยาซ้ำซ้อน กลายเป็นปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสม สุดท้ายปัญหาก็ตกไปเป็นของทุกคน คือ ภาระค่ายาที่สูงขึ้นในที่สุด

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยก “อนามัย” เป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” ทั่วประเทศจำนวน 9,810 แห่ง


โดย mootie | วันที่ 28 ตุลาคม 2552
          สถานพยาบาลที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของภาครัฐที่ให้การบริการประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ สถานีอนามัย แม้ว่าในเมืองจะรู้สึกห่างเหินกับสถานีอนามัย แต่ในระดับภูมิภาคแล้ว สถานีอนามัยเป็นมากกว่าสถานพยาบาล
          เพราะวันนี้สถานีอนามัยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศจำนวน 9,810 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 30,000 คน กำลังยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
          การปรับเปลี่ยนดังกล่าวถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญหน้าใหม่ของวงการสาธารณสุขไทย เนื่องจากที่ผ่านมางานซ่อมสุขภาพกับงานสร้างสุขภาพยังแยกส่วนกัน
          แต่ครั้งนี้ถือเป็นการผนึกกำลังด้านการซ่อมสุขภาพนำสร้างสุขภาพ โดยการยกระดับในครั้งนี้นอกจากเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสูญเสียเวลาของประชาชนที่ต้องมานั่งรอการตรวจรักษาโรคในโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงต้องเดินทางไกลแสนไกลเพื่อไปตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ในชั่วเวลาไม่ถึงอึดใจเท่านั้น
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอื่นๆ ให้ผูป่วยในพื้นที่ทุกแห่งในแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการทำงานเชิงรุกที่มีศูนย์รวมอยู่ในพื้นที่ และเน้นให้ประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพให้ประชาชนเข้ารับบริการในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น
          ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมี 3 ขนาด ตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ได้แก่ ขนาดเล็กดูและประชากรไม่เกิน 3,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 5 คน ขนาดกลางดูแลประชากรไม่เกิน 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 7 คน และขนาดใหญ่ดูแลประชากรมากกว่า 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 9-10
          เรื่องดังกล่าวนับว่าเป็นนโยบายทางการเมืองที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมเรื่องที่ต้องการผลักดันให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพและเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียน้อยที่สุด ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพ ให้สองด้านมาบรรจบเพื่อให้เกิดการบูรณาการ เกิดความเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
          โดยประชาคมที่ภาครัฐได้ผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมอีกคือ ได้จัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ของนโยบายไทยเข้มแข็งตั้งแต่ปี 2533-2555 ซึ่งจะมีงบประมาณ 86,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นงบประมาณที่ใช้ในการผลักดันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 14,973 ล้านบาท และยังมีงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อีก รวม 30,877 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท
          เปลี่ยนโฉมทั้งอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลที่ใช้ส่งต่อผู้ป่วย 1,000 คัน ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ้นทั้งหมด 1,001 แห่ง ครอบคลุมในทุกอำเภอที่มีอยู่ 800 กว่าแห่งทั่วประเทศ และภายใน 3 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ!!!
          แม้ว่าขณะนี้โครงการดังกล่าวในหลายพื้นที่ได้มีการนำร่องและไดผลเป็นอย่างดีสมกับที่หลายฝ่ายรอคอย                   "ก่อนหน้านี้ผมเคยเป็นผู้บริหารชุมชนและเริ่มป่วยเป็นอัมพฤกษ์จนเดินไม่ได้ แต่เมื่อได้รับการรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ทำงานเชิงรุก เข้าถึงประชาชนอย่างเต็มที่ ทำให้ขณะนี้หายดี" หนึ่งเสียงของผู้เข้ารับการรักษาจากโครงการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลจากโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายวิกฤษ กมลสาร ผู้พิการจากบ้านหนองเม็ก จ.กาฬสินธุ์
          ไม่เพียงแต่เขาเท่านั้นที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโคลงการจะช่วยให้เขาหายดีและมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้แล้ว ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ได้รับการช่วยเหลือนี้ เปลี่ยนชีวิตใหม่ เช่น จากเดิมที่ป่วยเป็นโรคหัวใจต้องใช้เงินและเวลาในการไปรักษาตัว แต่เมื่อมีการแพทย์เชิงรุกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนี้ก็ทำให้เพื่อนบ้านที่ป่วยโรคหัวใจคนนั้นกลับมาใช้ชีวิตปกติหายดีเหมือนเกิดใหม่
          "ผมในฐานะที่เป็นชาวบ้านและได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ผมอยากให้มีการกระจายโครงการอย่างทั่วถึง เพราะเป็นโครงการที่เข้าถึงความต้องการของชาวบ้านได้อย่างแท้จริงผมซึ่งเป็นผู้พิการก็ไดรับการดูแลอย่างดีจากโครงการนี้ ผมต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโครงการดีๆ และทำให้ผมมีกำลังใจในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น"
          ความในใจของนายวิกฤษ หนึ่งในผู้ที่มีชีวิตเกิดใหม่จากอานิสงส์ผลบุญของโครงกรรดีๆ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนี้ 
1 ตุลาคมนี้ ความหวังเล็กๆ ของผู้ป่วยไทยทุกคนจะมีความหวังขึ้นเช่นเดียวกับคุณวิกฤตอย่างแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์