วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการ ทู บี นัมเบอร์ 1 (To be Number 1) : เพื่อนใจวัยรุ่น ร่วมก้าวสู่ความเป็นเลิศ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tobenumber1.net/about/about.asp เป็นอย่างยิ่ง

ไฟล์:ปกนิตยสารทูบีนัมเบอร์วัน.jpg

1. โครงการ TO BE NUMBER ONE คืออะไร
2. การสมัครสมาชิก
3. สมาชิกได้รับสิทธิอะไรบ้าง



โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นองค์ประธาน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การรณรงค์ปลกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
นักเรียน / นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สนใจสมัครสมาชิกได้ที่
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน / เขต / จังหวัด ที่อาศัยอยู่
- ภูมิภาค สมัครได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร สมัครได้ที่ สำนักงานเขต

กิจกรรมในชมรม คือกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรก็ได้ที่ให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม และดูแลช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิก เช่น กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น โดยมี ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น หรือ ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นให้บริการโดยอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นที่มีวัยใกล้เคียงกัน หรือวัยเดียวกันกับวัยรุ่น ซึ่งมีบริการดังนี้
1. บริการให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการพูดคุยปรึกษาปัญหาต่าง ๆ มีบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม โดยอาสาสมัครประจำศูนย์ ฯ และบริการปรึกษาทางโทรศัพท์
2. บริการฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง มีบริการด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยคอมพิวเตอร์จากคู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ทางระบบอินเตอร์เนต นอกจากนี้สามารถศึกษาหรือประเมินตนเองจากแบบประเมินต่าง ๆ เช่น แบบประเมิน EQ แบบประเมินความเครียดที่สามารถวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้ใช้บริการ ทราบผลได้ทันที หรือจากจุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากผู้ใช้บริการยังไม่สามารถค้นพบตัวเอง หรือค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับที่พึงพอใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนา EQ และกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน โดยอาสาสมัครจะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม กิจกรรมดังกล่าวจะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักเพื่อนแล้วยังทำให้วัยรุ่นได้พัฒนา EQ ของตนเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากยาเสพติด
3. บริการกิจกรรมเสริมทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุข เป็นบริการแนะนำ และฝึกกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจของเยาวชน โดยอาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ DJ และอื่น ๆ เป็นต้น

ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดตั้งขึ้น 4 แห่ง ได้แก่  
- ศูนย์การค้าแฟชั่นไอล์แลนด์
- ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์
- ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์รังสิต
- ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค



  • ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในจังหวัดภูมิภาค กำหนดจัดตั้งจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 75 จังหวัด





  • โดยให้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้าหรืออาคารในชุมชนเมืองที่เป็นแหล่งนัดพบของวัยรุ่น ที่มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80 ตารางเมตร เพื่อให้สามารถแบ่งส่วนให้บริการได้เป็น 3 ส่วน คือ บริการให้คำปรึกษา บริการแก้ปัญหาและพัฒนา EQ และบริการสร้างสุขด้วยดนตรี กีฬา และศิลปะ

    ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนเมืองให้บริการโดยอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ได้แก่ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของกรมสุขภาพจิต โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 - 20.00 น. ขณะนี้เปิดทำการแล้ว 5  แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอล์แลนด์ ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์รังสิต ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแคและในภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ต พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่

    กำหนดจัดตั้งขึ้นในจังหวัดภูมิภาค 75 จังหวัด ไม่เกิน 100 แห่ง โดยจัดหาสถานที่ ที่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนดภายในหมู่บ้าน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์เยาวชนซึ่งเลิกใช้แล้ว อาคารในในสวนสาธารณะที่วัยรุ่นและเยาวชนมาใช้บริการได้สะดวก หรือใช้พื้นที่ในอาคารในชุมชนชนบทที่มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตร และจัดสัดส่วนการให้บริการเป็น 3 ส่วน คือ บริการให้คำปรึกษา บริการแก้ปัญหาและพัฒนา EQ และให้บริเวณสวนและสนามด้านนอกสำหรับการเรียนรู้และเล่นดนตรี กีฬา และศิลปะ กรณีพื้นที่น้อยให้ปรับใช้พื้นที่ตามช่วงเวลาการให้บริการ

    กำหนดจัดตั้งขึ้นใน 75 จังหวัด 150 แห่ง กรุงเทพมหานคร 50 แห่ง โดยใช้พื้นที่ในอาคารเรียน หรืออาคารใดอาคารหนึ่ง หรือมุมใดมุมหนึ่ง ในที่ตั้งของชมรม
    สื่อและเทคโนโลยีประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นประกอบด้วย หนังสือคู่มือและ CD ชุดเทคโนโลยีสำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเป็นความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นและเป็นคู่มือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
    1. สะท้อนภาพวัยใส สะท้อนใจวัยทีน
    2. เพื่อนช่วยเพื่อน
    3. สานสายใยหัวใจรัก
    4. สอนวัยรุ่นไม่วุ่นอย่างที่คิด
    5. คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ
    6. คู่มือการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน

    1. สำนักงานโครงการ
        โทรศัพท์ 0 2590 8182 , 0 2950 8888 โทรสาร  0-2589-0938,0-2149-5531
     
    2. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นเดอะมอลล์บางแค ชั้น 4 โซนสวนสนุก โทร 02 454 5105 , 02 454  4781 โทรสาร 02-4544781
    3. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นแฟชั่นไอล์แลนด์ บริเวณชั้น 2 ฝั่งโฮมโปร
        โทรศัพท์ 0 2947 5819 โทรสาร 02 947 5819
    4. ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ บริเวณชั้น 4 ฝั่ง EGV
        โทรศัพท์ 0 2 864 1721 , 02 720 2187 โทรสาร 02 721 8315
    5. ศูนย์ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ชั้น 3 โซน IT Mobile
        โทรศัพท์ 0 9580011 ต่อ 1496-7

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น