วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

การยกฐานะสถานีอนามัยเป็น "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล"

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.domhospital.com/website/?p=8 และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นอย่างยิ่ง)

สถาน พยาบาลหน่วยย่อยที่สุดของภาครัฐที่ให้การบริการประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ สถานีอนามัย ซึ่งเป็นมากกว่าสถานพยาบาล และสถานีอนามัยทั่วประเทศ จำนวน 9,810 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 30,000 คน กำลังยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญก้าวใหม่ของวงการสาธารณสุขไทย เนื่องจากที่ผ่านมางานซ่อมสุขภาพกับงานสร้างสุขภาพยังแยกส่วนกัน

การยกระดับในครั้งนี้นอกจากเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสูญเสียเวลาของประชาชน ที่ต้องรอการตรวจรักษาโรคในโรงพยาบาลประจำ จังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงต้องเดินทางไกลแสนไกลเพื่อไปตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ในชั่วเวลาไม่ถึง อึดใจเท่านั้น
โรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอื่นๆ ให้ผู้ป่วยในพื้นที่ทุกแห่งในแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการทำงานเชิงรุกที่มีศูนย์รวมอยู่ในพื้นที่ และเน้นให้ประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ให้ประชาชนเข้ารับบริการในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมี 3 ขนาด ตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ได้แก่ ขนาดเล็กดูและประชากรไม่เกิน 3,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 5 คน ขนาดกลางดูแลประชากรไม่เกิน 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 7 คน และขนาดใหญ่ดูแลประชากรมากกว่า 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 9-10 คน

นับเป็นนโยบายทางการเมืองที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมเรื่องที่ต้องการผลักดันให้ประชาชน มีหลักประกันสุขภาพและเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียน้อยที่สุด ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพ ให้สองด้านมาบรรจบเพื่อให้เกิดการบูรณาการ เกิดความเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ของนโยบายไทยเข้มแข็งตั้งแต่ปี 2533-2555 ซึ่งจะมีงบประมาณ 86,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณที่ใช้ในการผลักดันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 14,973 ล้านบาท และยังมีงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อีก รวม 30,877 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท  เปลี่ยนโฉมทั้งอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลที่ใช้ส่งต่อผู้ป่วย 1,000 คัน ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 จะเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ้นทั้งหมด 1,001 แห่ง ครอบคลุมในทุกอำเภอที่มีอยู่ 800 กว่าแห่งทั่วประเทศ และภายใน 3 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ

“ก่อน หน้านี้ผมเคยเป็นผู้บริหารชุมชนและเริ่มป่วยเป็นอัมพฤกษ์จนเดินไม่ได้ แต่เมื่อได้รับการรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโครงการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลที่ทำงานเชิงรุก เข้าถึงประชาชนอย่างเต็มที่ ทำให้ขณะนี้หายดี” หนึ่งเสียงของผู้เข้ารับการรักษาจากโครงการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลจาก โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายวิกฤษ กมลสาร ผู้พิการจากบ้านหนองเม็ก จ.กาฬสินธุ์

ไม่เพียงแต่เขาเท่านั้นที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโคลงการจะช่วยให้เขาหายดีและ มาใช้ชีวิตอย่างปกติได้แล้ว ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ได้รับการช่วยเหลือนี้ เปลี่ยนชีวิตใหม่ เช่น จากเดิมที่ป่วยเป็นโรคหัวใจต้องใช้เงินและเวลาในการไปรักษาตัว แต่เมื่อมีการแพทย์เชิงรุกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนี้ก็ทำให้เพื่อน บ้านที่ป่วยโรคหัวใจคนนั้นกลับมาใช้ชีวิตปกติหายดีเหมือนเกิดใหม่

“ผม ในฐานะที่เป็นชาวบ้านและได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ผมอยากให้มีการกระจาย โครงการอย่างทั่วถึง เพราะเป็นโครงการที่เข้าถึงความต้องการของชาวบ้านได้อย่างแท้จริงผมซึ่งเป็น ผู้พิการก็ไดรับการดูแลอย่างดีจากโครงการนี้ ผมต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโครงการดีๆ และทำให้ผมมีกำลังใจในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น